วันอังคารที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 3



บันทึกอนุทินครั้งที่ 3

วันอังคาร ที่ 27 เดือน มกราคม พ.ศ.2558


เนื้อหา / กิจกรรม
บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม
นางฟ้าในใจเด็กเรียนรวม
นางฟ้าควรทำอะไรบ้าง
  1. สังเกตอย่างป็นระบบ
  2. จดบันทึกพฤติกรรมเป็นช่วงๆ
  3. ลำดับความสำคัญอาการเด็กให้ได้
  4. ปรับพฤติกรรมให้ตรงจุด
  5. ตัดสินใจด้วยความระมัดระวัง
  6. ให้กำลังใจผู้ปกครองและเด็ก
  7. มองเด็กแบบภาพรวม
การบันทึกการสังเกต
  1. การนับอย่างง่ายๆ คือ การนับจำนวนครั้งของการเกิดพฤติกรรม กี่ครั้งต่อวัน กี่ครั้งต่อชั่วโมง
  2. การบันทึกต่อเนื่อง คือ เขียนทุกอย่างที่เด็กทำในช่วงเวลาหนึ่ง โดยไม่ต้องเข้าไปแนะนำช่วยเหลือ การบันทึกแบบนี้จะให้รายละเอียดพฤติกรรมเด็กมากและชัดเจน
  3. การบันทึกไม่ต่อเนื่อง คือ บันทึกลงบัตรเล็กๆ บันทึกสั้นๆกี่ยวกับพฤติกรรมเด็กในช่วงเวลาหนึ่ง
ตัวอย่างการบันทึก

การบันทึกแบบต่อเนื่อง

การบันทึกแบบไม่ต่อเนื่อง

นางยักษ์ของเด็กเรียนรวม

ทำไมถึงเรียกนางยักษ์ ?
  1. วินิจฉัยเด็ก เพราะ การวินิจฉัยอาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดได้
  2. ตั้งฉายาให้เด็ก จะทำให้เด็กกลายเป็นเช่นนั้นจริงๆ และเปรียบเสมือนตราประทับติดตัวเด็กตลอดไป
  3. การบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างความผิดปกติ เพราะ อาจย้ำซ้ำเติมสิ่งที่พ่อแม่รู้อยู่แล้ว
กิจกรรม 

บอกสิ่งที่เห็น....เห็นกลีบดอกสีเหลือง 30 กลีบ โคนกลีบมีสีน้ำตาลปนเหลือง ตรงกลางมีเมล็ดสีดำ สีน้ำตาล ใบสีเขียว 10 ใบ มีขนอ่อนๆอยู่รอบใบและก้านดอก


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  1. การมั่นสังเกตพฤติกรรมเด็กอย่างเป็นระบบ เพราะจะทราบถึงพัฒนาการของเด็ก
  2. การบันทึกพฤติกรรมตามสภาพจริง เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง
  3. การบันทึกที่ไม่ใส่อารมณ์และความรู้สึกของครูผู้สอนลงไป
  4. การเรียงลำดับความสำคัญของอาการด็กให้ถูกต้อง เพื่อจะช่วมส่งเสริมเด็กได้ตรงจุด
  5. การนำพฤติกรรมที่เด็กแสดงออกมาเปรียบเทียบกับเด็กปกติหรือผู้ใหญ่ 
  6. การตัดสินใจอย่างรอบคอบและระมัดระวังให้มาก เพื่อจะไม่ให้เกิดปัญหา
เพลงสำหรับเด็ก


การประเมิน
ประเมินตนเอง : มีวินัยในห้องเรียน ตั้งใจและมีสมาธิ การทำกิจกรรมทำให้ทราบถึงการบันทึกพฤติกรรมที่เป็นสภาพจริง ร่วมตอบคำถามที่อาจารย์ถาม และมีส่วนร่วมกับกิจกรรมการเรียนการสอน

ประเมินเพื่อน : เพื่อนทุกคนเข้าเรียนตรงเวลา แต่ยังมีส่วนน้อยที่คุยกันในขณะที่อาจารย์สอน ทำให้การสอนมีความติดขัดเล็กน้อย แต่ภาพรวมแล้วเพื่อนมีส่วนร่วมและตั้งใจทำกิจกรรม 

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เตรียมอุปกรณ์การสอนพร้อมกับนักศึกษาทุกคน เนื้อหาการเรียนกระชับได้ใจความ ยกตัวอย่างอาการต่างๆได้ชัดเจน ทำให้นักศึกษามีข้อคิดหลายๆอย่างในการเป็นครู กิจกรรมวันนี้สอดแทรกความรู้ที่คาดไม่ถึง และสนุกสนานกับการเรียน

ประเมินอาคาร / อุปกรณ์ : ไมโครโฟนและอุปกรณ์ในห้องเรียนควรได้รับการปรับปรุงอย่างจริงจัง นอกจากจะเก่าแล้วยังสร้างความติดขัดระหว่างการสอน


วันอังคารที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่2


บันทึกอนุทินครั้งที่ 2

วันอังคาร ที่ 20 เดือน มกราคม พ.ศ.2558

เนื้อหา / กิจกรรม
รูปแบบการจัดการศึกษา
  • การศึกษาแบบทั่วไป (Regular Education)
  • การศึกษาพิเศษ (Special Education)
  • การศึกษาแบบเรียนร่วม (Integrated Education หรือ Mainstreaming) 
  • การศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive Education)
การจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
"เด็กที่มีความต้องการพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสม"
1.การศึกษาแบบเรียนร่วม (Integrated Education หรือ Mainstreaming) 
  • จัดให้เด็กพิเศษเข้าไปในระบบศึกษาทั่วไป และยังคงหลักสูตรเดิม
  • ใช้ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งในการทำกิจกรรม
  • จัดกิจกรรมให้เด็กปกติและเด็กพิเศษทำร่วมกัน
การเรียนร่วมบางเวลา (Integrated Education)
  • เด็กพิเศษได้เรียนร่วมในโรงเรียนปกติบางเวลา
  • เด็กที่พิการระดับปานกลางถึงระดับมาก ไม่สามรถเรียนร่วมเต็มเวลาได้
  • เรียนร่วมกิจกรรม ศิลปะ ดนตรี กลางแจ้ง
การเรียนร่วมเต็มเวลา (Mainstreaming)
  • จัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติตลอดเวลาที่เด็กอยู่ในโรงเรียน
  • เด็กพิเศษได้รับการจัดกระบวนการเรียนรู้เหมือนเด็กปกติ
  • มีเป้าหมายเพื่อให้เด็กเข้าใจซึ่งกันและกัน และยอมรับความแตกต่างของมนุษย์
2.การศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive Education)
  • การศึกษาสำหรับทุกคน (Education for all)
  • รับเด็กเข้ามาเรียนตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษา
  • บริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล
  • ไม่มีการแบ่งแยกเด็กพิเศษกับเด็กปกติ
  • เด็กเลือกโรงเรียนไม่ใช่ดรงเรียนเลือกเด็ก
Wilson,2007
  • จัดการเรียนการสอนที่ยึดปรัชญาของการอยู่รวมกัน (Inclusion) เป็นหลัก
  • การสอนที่ดี ครูกับนักเรียนช่วยกันให้ทุกคนเป็นสมาชิกที่ดีของชุมชน
  • กิจกรรมที่่นำไปสู่การสอนที่ดี (Good Teaching) ต้องคิดอย่างรอบคอบ
"Inclusive Education is Education for all
It involves receiving people
at the beginning of their education,
with provision of additional services
needed by each individual"
"การศึกษาแบบเรียนรวมเป็นการศึกษาสำหรับทุกคน เด็กควรได้รับการศึกษาตั้งแต่วัยอนุบาล กับการได้รับการบริการความต้องการพิเศษที่แตกต่างกัน"

ความสำคัญของการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
  • ปฐมวัยเป็นวัยแห่งการเรียนรู้ เพราะเป็นช่วงของการสร้างเซลล์สมอง เมื่อได้รับประสบการณ์ต่างๆเด็กจะเรียนรู้ได้ดี
  • เป็นการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด
  • เด็กปฐมวัยสอนได้หากได้รับการเรียนรู้ที่เหมาะสมตามวัย
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  1. การจัดประสบการณ์ให้กับเด็กได้อย่างเหมาะสมและคิดอย่างรอบคอบ
  2. การทำให้เด็กปกติเข้าใจเพื่อน เพื่อให้เด็กช่วยเหลือและดูแลกัน
  3. ไม่ควรตั้งฉายาให้กับเด็ก เพราะจะให้เด็กมีปมด้อยในการใช้ชีวิต
  4. การจัดบรรยากาศในห้องเรียนที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด
  5. นำความรู้ ความแตกต่างระหว่างเรียนร่วมและเรียนรวม ไปใช้ในการศึกษาขั้นต่อไป
การประเมิน

ประเมินตนเอง : มีวินัยในชั้นเรียน ตั้งใจเรียนกับเนื้อหาความรู้ สามารถวิเคราะห์ความแตกต่างของการศึกษาแบบเรียนร่วมกับการศึกษาแบบเรียนรวมได้ มีความเข้าใจกับการเรียน และได้เทคนิคต่างๆในการจัดการสอนในอนาคต

ประเมินเพื่อน : ทุกคนตั้งใจเรียนกับเนื้อหาและกิจกรรมที่นำมาจัดการเรียน สามารถวิเคราะห็ความรู้ได้ บรรกาศการในห้องเรียนมีความสุขกับการเรียน และมีความพร้อมกับการเรียนรู้

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เตรียมพร้อมในการจัดเนื้อหาที่กระชับ การอธิบายและยกตัวอย่างเพิ่มเติมทำให้นักศึกษามีความเข้าใจและห็นภาพชัดเจน  บรรยายกาศการเรียนสนุก ไม่เครียด อบอุ่น และเป็นกันเอง ขอบคุณอาจารย์เบียร์สำหรับแนวทางในการเรียกสิทธิ์ของนักศึกษาในการเรียนรายวิชาต่างๆ

ความรู้เพิ่มเติม
การเรียนร่วมของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ



วันจันทร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่1


บันทึกอนุทินครั้งที่ 1

วันอังคาร ที่ 13 เดือน มกราคม พ.ศ.2558

เนื้อหา / กิจกรรม
1.เฉลยข้อสอบปลายภาคเรียนที่ 1 วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
2.Pretest วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
3.เพลงและดนตรีสำหรับเด็ก

ตัวอย่าง  Pretest วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

1.ประเภทของเด็กพิเศษมีอะไรบ้าง
ตอบ 
  1. เด็กที่บกพร่องทางสติปัญญา
  2. เด็กที่บกพร่องทางการเห็น
  3. เด็กที่บกพร่องทางการได้ยิน
  4. เด็กที่บกพร่องทางร่างกาย
  5. เด็กที่บกพร่องทางภาษาและการพูด
  6. เด็กที่บกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
  7. เด็กที่บกพร่องซ้อน
  8. เด็กที่บกพร่องทางการเรียนรู้
  9. ออทิสติก
  10. ปัญญาเลิศ
2.ยกตัวอย่างเด็กพิเศษ 1 อย่าง พร้อมบอกสาเหตุ อาการ และการอบรมดูแลเด็ก
ตอบ  
ดาวน์ซินโดม Dow's syndrome
สาเหตุ เกิดจากความผิดปกติของโคโมโซมคู่ที่ 21
อาการ

แนวทางการดูแลรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ อาการ Dow's Syndrome
  1. ด้านสุขภาพอนามัย การแนะนำให้ผู้ปกครองพาบุตรไปพบแพทย์ การติดตามการรักษาเป็นระยะๆ
  2. การส่งเสริมพัฒนาการ การใช้วิธีการสอนซ้ำ ย้ำ ทวน กับเด็ก และการฟื้นฟูต้องใช้เวลา
  3. การดำรงชีวิตประจำวัน ฝึกให้ช่วยเหลือตนเองได้มากที่สุด และการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้
  4. การฟื้นฟูสมรรถภาพ การฟื้นฟูทางการแพทย์ การจัดแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล : IEP
  5. การปฏิบัติของบิดามารดา การยอมรับความจริง การพาเด็กเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพด้านต่างๆเช่น มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม การทำหมัน และการตรวจโรคหัวใจ
เพลงและดนตรีสำหรับเด็กปฐมวัย
เพลง นม
นมป็นอาหารดี มีคุณค่าต่อร่างกาย
ดื่มแล้วชื่นใจ ร่างกายแข็งแรง
ยังมีนมถั่วเหลือง ดื่มได้ดีและไม่แพง
ดื่มแล้วชื่นใจ ร่างกายแข็งแรง

เพลง อาบน้ำ
อาบน้ำซู่ซ่า ล้างหน้าล้างตา
ฟอกสบู่ถูตัว ชำระหงื่อไคล
ราดน้ำให้ทั่ว เสร็จแล้วช็ดตัว
อย่าให้ขุ่นมัว สุขกายสบายใจ

เพลงแปรงฟัน
ตื่นเช้าเราแปรงฟัน
กินอาหารแล้วเราแปรงฟัน
ก่อนนอนเราแปรงฟัน
ฟันสะอาดขาวเป็นเงางาม
แปรงฟันที่ถูกวิธี ดูซิต้องแปรงขึ้นลง
แปรงฟันที่ถูกวิธี ดูซิต้องแปรงขึ้นลง

เพลง พี่น้องกัน
บ้านของฉันอยู่ด้วยกันมากหลาย
พ่อ แม่ ปู่ ย่า ลุง ป้า ตา ยาย
มีทั้งน้า อา พี่แะน้องมากมาย
ทุกคนสุขสบาย เราเป็นพี่น้องกัน

เพลง มาโรงเรียน
เรามาโรงเรียน เราเขียนเราอ่าน
ครูเล่านิทาสนุกถูกใจ
เราเรียนเราเล่น  เราเป็นสุขใจ
ร่าเริงแจ่มใสเมื่อมาโรงเรียน

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  1. นำข้อเท็จจริงจากการเฉลยข้อสอบมาเป็นความรู้สะสมในการเรียน
  2. การทบทวนความรู้เดิมมาเชื่อมโยงกับวิชาเรียน
  3. นำเพลงมาขับร้องให้ตรงจังหวะ และไพเราะน่าสนใจ
  4. นำเพลงและดนตรีไปจัดประสบการณ์ให้กับเด็ก เพื่อให้เด็กผ่อนคลายและสนุกสนาน
  5. การคิดท่าทางประกอบเพลง เพื่อความสนุกสนานมากขึ้น
การประเมิน
ประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย มีวินัยในชั้นเรียน ให้ความร่วมมือกับกิจกรรมการเรียน สามารถนำความรู้เดิมมาถ่ายทอดได้ และมีความพยายามสูงในการเรียนร้องเพลง

ประเมินเพื่อน : เพื่อนมีวินัยในชั้นเรียน ให้ความร่วมมือในการตอบคำถามและทำกิจกรรม กิจกรรมเพลงและดนตรีสร้างความสุขและเสียงหัวเราะได้มาก แต่แอบปนความเพี้ยนไปเล็กน้อยถึงปานกลาง โดยรวมรวมแล้วบรรยากาศการเรียนสนุกสนาน และอบอุ่น

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์มีกิจกรรมที่สามารถให้นักศึกษานำความรู้เดิมหรือความรู้พื้นฐานของแต่ละคนออกมาถ่ายทอดได้ กิจกรรมเพลงและดนตรีสนุกสนาน เสียงร้องและท่าทางอาจารย์น่ารักมาก ทำให้ห้องเรียนมีความสนุกสนาน