วันอังคารที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่2


บันทึกอนุทินครั้งที่ 2

วันอังคาร ที่ 20 เดือน มกราคม พ.ศ.2558

เนื้อหา / กิจกรรม
รูปแบบการจัดการศึกษา
  • การศึกษาแบบทั่วไป (Regular Education)
  • การศึกษาพิเศษ (Special Education)
  • การศึกษาแบบเรียนร่วม (Integrated Education หรือ Mainstreaming) 
  • การศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive Education)
การจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
"เด็กที่มีความต้องการพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสม"
1.การศึกษาแบบเรียนร่วม (Integrated Education หรือ Mainstreaming) 
  • จัดให้เด็กพิเศษเข้าไปในระบบศึกษาทั่วไป และยังคงหลักสูตรเดิม
  • ใช้ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งในการทำกิจกรรม
  • จัดกิจกรรมให้เด็กปกติและเด็กพิเศษทำร่วมกัน
การเรียนร่วมบางเวลา (Integrated Education)
  • เด็กพิเศษได้เรียนร่วมในโรงเรียนปกติบางเวลา
  • เด็กที่พิการระดับปานกลางถึงระดับมาก ไม่สามรถเรียนร่วมเต็มเวลาได้
  • เรียนร่วมกิจกรรม ศิลปะ ดนตรี กลางแจ้ง
การเรียนร่วมเต็มเวลา (Mainstreaming)
  • จัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติตลอดเวลาที่เด็กอยู่ในโรงเรียน
  • เด็กพิเศษได้รับการจัดกระบวนการเรียนรู้เหมือนเด็กปกติ
  • มีเป้าหมายเพื่อให้เด็กเข้าใจซึ่งกันและกัน และยอมรับความแตกต่างของมนุษย์
2.การศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive Education)
  • การศึกษาสำหรับทุกคน (Education for all)
  • รับเด็กเข้ามาเรียนตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษา
  • บริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล
  • ไม่มีการแบ่งแยกเด็กพิเศษกับเด็กปกติ
  • เด็กเลือกโรงเรียนไม่ใช่ดรงเรียนเลือกเด็ก
Wilson,2007
  • จัดการเรียนการสอนที่ยึดปรัชญาของการอยู่รวมกัน (Inclusion) เป็นหลัก
  • การสอนที่ดี ครูกับนักเรียนช่วยกันให้ทุกคนเป็นสมาชิกที่ดีของชุมชน
  • กิจกรรมที่่นำไปสู่การสอนที่ดี (Good Teaching) ต้องคิดอย่างรอบคอบ
"Inclusive Education is Education for all
It involves receiving people
at the beginning of their education,
with provision of additional services
needed by each individual"
"การศึกษาแบบเรียนรวมเป็นการศึกษาสำหรับทุกคน เด็กควรได้รับการศึกษาตั้งแต่วัยอนุบาล กับการได้รับการบริการความต้องการพิเศษที่แตกต่างกัน"

ความสำคัญของการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
  • ปฐมวัยเป็นวัยแห่งการเรียนรู้ เพราะเป็นช่วงของการสร้างเซลล์สมอง เมื่อได้รับประสบการณ์ต่างๆเด็กจะเรียนรู้ได้ดี
  • เป็นการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด
  • เด็กปฐมวัยสอนได้หากได้รับการเรียนรู้ที่เหมาะสมตามวัย
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  1. การจัดประสบการณ์ให้กับเด็กได้อย่างเหมาะสมและคิดอย่างรอบคอบ
  2. การทำให้เด็กปกติเข้าใจเพื่อน เพื่อให้เด็กช่วยเหลือและดูแลกัน
  3. ไม่ควรตั้งฉายาให้กับเด็ก เพราะจะให้เด็กมีปมด้อยในการใช้ชีวิต
  4. การจัดบรรยากาศในห้องเรียนที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด
  5. นำความรู้ ความแตกต่างระหว่างเรียนร่วมและเรียนรวม ไปใช้ในการศึกษาขั้นต่อไป
การประเมิน

ประเมินตนเอง : มีวินัยในชั้นเรียน ตั้งใจเรียนกับเนื้อหาความรู้ สามารถวิเคราะห์ความแตกต่างของการศึกษาแบบเรียนร่วมกับการศึกษาแบบเรียนรวมได้ มีความเข้าใจกับการเรียน และได้เทคนิคต่างๆในการจัดการสอนในอนาคต

ประเมินเพื่อน : ทุกคนตั้งใจเรียนกับเนื้อหาและกิจกรรมที่นำมาจัดการเรียน สามารถวิเคราะห็ความรู้ได้ บรรกาศการในห้องเรียนมีความสุขกับการเรียน และมีความพร้อมกับการเรียนรู้

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เตรียมพร้อมในการจัดเนื้อหาที่กระชับ การอธิบายและยกตัวอย่างเพิ่มเติมทำให้นักศึกษามีความเข้าใจและห็นภาพชัดเจน  บรรยายกาศการเรียนสนุก ไม่เครียด อบอุ่น และเป็นกันเอง ขอบคุณอาจารย์เบียร์สำหรับแนวทางในการเรียกสิทธิ์ของนักศึกษาในการเรียนรายวิชาต่างๆ

ความรู้เพิ่มเติม
การเรียนร่วมของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น