วันอังคารที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 4


บันทึกอนุทินครั้งที่ 4

วันอังคาร ที่ 10 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2558


เนื้อหา / กิจกรรม

การสอนเด็กพิเศษและเด็กปกติ

ทักษะของครูและทัศนคติ
การฝึกพิ่มเติม 
  • การอบรม , สัมนา
  • สื่อข้อมูลต่างๆ เช่น หนังสือ เอกสาร โทรทัศน์ครู หรือข้อมูลตามเว็ปต่างๆ
"การศึกษาข้อมูลครูควรศึกษาจากหลายๆแหล่งความรู้เพื่อนำมาปรับประยุกต์ใช้กับเด็ก และเพื่อพิ่มประสิทธิภาพในการส่งเสริมเด็กให้เต็มตามศักยภาพของเด็ก"

การเข้าใจภาวะปกติ
  • มองเด็กให้เป็น "เด็ก"
  • รู้จักเด็กแต่ละคน
  • เรียนรู้และมีปฏิสัมพันธ์กับเด็ก
  • จำชื่อจริงและชื่อเล่นเด็กให้ได้ทุกคน
การคัดแยกเด็กที่มีพัฒนาการช้า
"การเข้าใจพัฒนาการของเด็ก" จะช่วยให้สามารถมองเห็นความแตกต่างของเด็กแต่ละคนได้ง่าย

ความพร้อมของเด็ก
  • วุฒิภาวะ
  • แรงจูงใจ
  • โอกาส
การสอนโดนบังเอิญ
  • เด็กเป็นฝ่ายเริ่ม เช่น เด็กเดินเข้ามาถาม , เด็กขอความช่วยเหลือ
บทบาทครูการสอนโดยบังเอิญ
  • พร้อมที่พบเด็ก
  • มีความสนใจเด็ก
  • มีความรู้สึกที่ดีต่อเด็ก
  • มีอุปกรณ์และกิจกรรมล่อใจเด็ก
  • มีความตั้งใจจริงในการช่วยเหลือเด็ก
  • ใช้เวลาติดต่อไม่นาน 
  • ทำให้เป็นเรื่องสนุกสนาน 
อุปกรณ์
  • สื่อไม่แบ่งแยกเพศ เช่น บล็อก เลโก้ เป็นต้น
  • สื่อที่ไม่มีวิธีการเล่นที่ตายตัว
ตารางประจำวัน
  • กิจกรรมต้องเรียงลำดับเป็นขั้นตอนและทำนายได้
  • การสลับกิจกรรมเงียบๆกับกิจกรรมเคลื่อนไหวมากๆ
  • คำนึงถึงความเหมาะของเวลา
ตัวอย่าง
กิจกรรมหน้าเสาธง>กายบริหาร>เล่นตามมุม>เคลื่อนไหวและจังหวะ>กิจกรรมเสรี>กิจกรรมเสริมประสบการณ์>ศิลปสร้างสรรค์>พักกลางวัน

ทัศนคติของครู
ความยืดหยุ่น
  • แก้แผนการสอนให้เหมาะสมกับสถานการณ์
  • ยอมรับความสามารถและความแตกต่างของเด็กแต่ละคน
  • ตอบสนองต่อเป้าหมายที่สำคัญที่สุดสำหรับเด็กแต่ละคน
การใช้สหวิทยาการ
  • ใจกว้างต่อคำแนะนำ
  • สร้างความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมกับบำบัดในห้องเรียน

การเปลี่ยนพฤติกรรมและการเรียนรู้
แรงเสริมทางสังคมจากผู้ใหญ่
  • การตอบสนองด้วยวาจา
  • การยืนหรือนั่งใกล้เด็ก
  • การพยักหย้า ยิ้ม รับฟัง
  • สัมผัสเด็ก
  • ให้ความร่วมมือ และให้ความช่วยเหลือเด็ก
หลักการให้แรงเสริมในเด็กปฐมวัย
  • ให้แรงเสริมเด็กทันทีที่เด็กมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์
  • ให้ความสนใจเด็กนานเท่าที่เด็กมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์
การแนะนำหรือบอกบท (Prompting)
  • ย่อยงาน , ลำดับความยากง่าย ,บอกบทค่อยๆลดน้อยลงตามลำดับ
ขั้นตอนการให้แรงเสริม
  • สังเกตและกำหนดจุดหมาย
  • วิเคราะห์งาน กำหนดจุดประสงค์ในงานแต่ละชิ้น
  • สอนจากง่ายไปยาก
  • ให้แรงเสริมเด็กทันทีเมื่อเด็กทำได้
  • ลดการบอกบท
  • ทีละขั้น ไม่เร่งรัด "ยิ่งขั้นเล็กเท่าไหร่ ยิ่งดีเท่านั้น"
  • ใจเย็น ไม่ดุไม่ตี
การกำหนดเวลา
จำนวนและความถี่ของแรงเสริมที่ให้กับพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กต้องมีความเหมาะสม
ความต่อเนื่อง
  • กิจกรรมทุกๆอย่างในชีวิตประจำวันต่อเนื่องกันระหว่างพฤติกรรมย่อยๆหลายๆอย่างรวมกัน
  • สอนแบบก้าวไปข้างหน้า หรือย้อนมาจากข้างหลัง
การตักซุป
  1. การจับช้อน
  2. การตัก
  3. การระวังไม่ให้น้ำในช้อนหกก่อนจะเข้าปาก
  4. เอาช้อนและซุปเข้าปากแทนที่จะทำให้หกรดคาง
  5. การเอาซุปออกจากช้อนเข้าปาก
  • การสอนแบบก้าวไปข้างหน้า คือการสอนให้เด็กปฏิบัติจากขั้นตอนที่ 1-5 ตามลำดับ
  • การสอนแบบย้อนมาจากข้างหลัง คือ ขั้นตอนที่ 1-4 ครูทำ ส่วนขั้นตอนสุดท้ายให้เด็กลงมือปฎิบัติเอง
การลดหรือหยุดแรงเสริม
  • งดแรงเสริมกับเด็กที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม
  • เอาอุปกรณ์หรือของเล่นออกจากเด็ก
  • เอาเด็กออกจากการเล่น
"คงเส้นคงวา"
กิจกรรม
จากกิจกรรมนี้ สอนให้เรารู้ว่า ส่วนต่างๆของร่างกายเราควรสังเกตและเรียนรู้ให้รอบคอบ หากวันใดมันหายไปหรือมีความบกพร่องเราจะได้รู้และหาวิธีแก้ไขได้ถูกต้อง เช่นเดียวกับการเป็นครูเราควรสังเกตพฤติกรรมเด็กให้ดีและบันทึกพฤติกรรมของเด็กในขณะที่เด็กแสดงพฤติกรรม เพื่อเก็บรายละเอียดและหาวิธีแก้ไขและส่งเสริมให้ถูกต้อง

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  1. การปรับทัศนคติการมองเด็กให้เป็นเด็ก
  2. การจำชื่อเด็กให้ได้ทุกคน เพื่อให้เด็กอบอุ่นและรู้สึกดี
  3. การพูดในเชิงบวก ลูบหัว ค่อยตบหลัง
  4. การมอบโอกาสให้เด็กทุกคนได้เรียนรู้เท่าๆกัน
  5. การเตรียมความพร้อมเพื่อให้เด็กเกิดการเรียนทุกเมื่อที่เข้ามาหา
  6. การจัดการเรียนให้เป็นเรื่องสนุกสนาน
การประเมิน

ประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา มีวินัยในชั้นเรียน ตั้งใจทำกิจกรรมในชั้นเรียนได้สำเร็จและได้ข้อคิดที่หลากหลายจากกิจกรรม มีส่วนร่วมในการตอบคำถามเกี่ยวกับเนื้อหาการเรียน

ประเมินเพื่อน : เพื่อนทุกคนตั้งใจเรียนรู้กับกิจกรรมและเนื้อหาการเรียน แต่อาจมีติดขัดเล็กน้อย เช่น การคุยกัน แต่ ทุกอย่างก็ผ่านไปด้วยดี และบรรกาศก็สนุก และอบอุ่น

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์นำเรื่องดีๆมาเล่าให้นักศึกษาฟัง และสอนการปฏิบัติในการเรียนที่ดี เนื้อหาวันนี้อาจจะเยอะแต่ก็อธิบายเพิ่มเติมให้เข้าใจมากขึ้น บรรยากาศสนุกเป็นกันเอง และมีกิจกรรมร้องเพลงเพื่อนำไปใช้งานได้จริง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น