บันทึกอนุทินครั้งที่ 5
วันอังคาร ที่ 3 เดือน มีนาคม พ.ศ.2558
เนื้อหา / กิจกรรม
การส่งเสริมทักษะทางสังคมของเด็กพิเศษ
- สภาพแวดล้อมที่ดีไม่ได้เป็นเครื่องการันตีว่าเด็กจะมีพัฒนาการๆอย่างมีความสุข
- การปรับสภาพสังคมควรปรับที่ตัวของเด็ก
- ในช่วงแรกๆเด็กจะไม่มองเด็กอื่นเป็นเพื่อน แต่จะเป็นอะไรสักอย่างที่น่าสำรวจ สัมผัส ผลักดึง
- การเล่นเป็นสิ่งสำคัญของทักษะทางสังคม
- การมีสื่อที่ดีจะเป็นสื่อกลางในการเรียนรู้ทักษะด้านต่างๆของเด็ก
- ครูเริ่มต้นสังเกตพฤติกรรมเด็กอย่างเป็นระบบ
- ครูบันทึกพฤติกรรม
- ทำแผน IEP
- วางแผนกิจกรรมการเล่นไว้หลายอย่าง
- ให้เด็กเล่นเป็นกลุ่มเล็กๆ 2-4 คน
- จัดให้เด็กปกติกับเด็กพิเศษ 3:1
- สังเกตอยู่ใกล้ๆและเฝ้ามองอย่างสนใจ
- มีปฏิกิริยากับเด็ก เช่น ยิ้ม พยักหน้า
- ไม่ชมเชยหรือสนใจเด็กมากเกินไป
- เอาวัสดุหรือสื่อมาเพิ่มที่ละน้อย เพื่อยืดเวลาการเล่น
- ให้ความคิดเห็นที่เป็นแรงเสริม
หากเกิดเหตุการณ์เด็กพิเศษยืนมองเพื่อนเล่น ไม่กล้าเข้าไปในกลุ่มเพื่อนครูควรทำอย่างไร ?
เหตุการณ์2 : เด็กไม่เข้าไปเล่นกับกลุ่มเพื่อน ได้แต่ยืนมองดูเพื่อนเล่น ครูควรสร้างจุดเด่นให้เด็ก จุดเด่นที่ว่านั่นก็คือ ให้เด็กถือของเล่นข้าไปหาเพื่อน แล้วครูพูดกับเด็กว่า "ดูซิคะเพื่อนมีของเล่นมาเล่นด้วย เราให้เพื่อนเล่นด้วยนะคะ"
การช่วยเด็กทุกคนให้รู้กฏเกณฑ์
- เรื่องการปฏิบัติตามกฏกติกาไม่ใช่เรื่องงายสำหรับเด็กพิเศษ แต่เราทำได้โดยให้โอกาสเด็กทุกคน
- จำไว้และปฏิบัติว่าเด็กทุกตนมีสิทธิ์เท่าเทียมกัน ครูไม่ควรเอาความบกพร่องของเด็กเป็นเครื่องต่อรองต่างๆ
กิจกรรม ดนตรีเพื่อการบำบัดและศิลปะเพื่อการบำบัด
การทำกิจกรรม
- ให้เด็กจับคู่กัน 2คน และให้เลือกสีที่ชอบมาคนละ 1 แท่ง
- ให้เด็กคนที่ 1 เป็นคนลากเส้นตามจังหวะและเสียงเพลง
- ให้เด็กคนที่ 2 เป็นคนวาดจุดตรงที่ว่างของรอยตัดตามเพื่อนที่ลากเส้นตามจังหวะและเสียงเพลง
- ให้ระบายสีภาพตรงช่วงรอยต่อที่เด็กมองเห็นและจินตนาการ เช่น ปลา ดอกไม้ ต้นไม้ พญานาค
- ให้เด็กนำเสนอผลงาน
- กิจกรรมนี้ใช้ได้ทั้งเด็กปกติและเด็กพิเศษ
- ฝึกสมาธิของเด็ก
- ส่งเสริมทักษะการฟังเสียง
- ส่งเสริมการทำงานร่วมกับเพื่อน
- พัฒนากล้ามเนื้อมือและการประสานสัมพันธ์กันตา
- พัฒนาด้านอารมณ์ในการผ่อนคลายและความซาบซึ้งในจังหวะ
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
- การปรับพฤติกรรมของเด็กเราควรทำที่ตัวเด็กเอง
- การแบ่งกลุ่มเด็กปกติและเด็กพิเศษให้เป็น 3:1
- การจัดประสบการณ์ให้เด็กทำงานร่วมกัน
- การเพิ่มสื่อให้เด็กเพื่อยืดเวลาความสนใจและการเล่นของเด็ก
- การพูดนำเด็กให้เป็น และการใช้แรงเสริมโดยการพูด
- การสร้างจุดเด่นให้กับเด็กพิเศษเพื่อให้เด็กได้มีโอกาสเล่นกับเพื่อน
- การสร้างกฏกติกาการเล่นให้เท่าเทียมกัน
- การจัดกิจกรรมเป็นเกมการเล่นเพื่อให้เด็กได้เล่นอุปกรณ์ได้ทั่วถึง
การประเมิน
ประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงต่อเวลา มีวินัยในห้องเรียน ร่วมแสดงความคิดเห็นกับกิจกรรมในชั้นเรียน สนุกสนานกับกิจกรรมที่อาจารย์นำมาสอน
ประเมินเพื่อน : เพื่อนมีวินัยในชั้นเรียน ทุกคนตั้งใจเรียนและทำงานของตนเอง ร่วมกันตอบคำถามและแสดงความคิดเห็นกับอาจารย์ ทำให้บรรยากาศสนุกสนานและมีความสุข
ปนะเมินอาจารย์ : อาจารย์เป็นตัวอย่างที่ดี คือ เข้าสอนตรงเวลา พูดฉะฉาน เป็นกันเอง ดูแลนักศึกษาอย่างทั่วถึง นำกิจกรรมสนุกๆมาสร้างความสนุก ทำหใ้มีเสียงหัวเราะ และได้นำรูปแบบการจัดกิจกรรมาให้เพื่อเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมให้เด็กต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น