วันพุธที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 6


บันทึกอนุทินครั้งที่ 6

วันอังคาร ที่ 10 เดือน มีนาคม พ.ศ.2558


เนื้อหา / กิจกรรม


การส่งเสริมทักษะทางภาษาของเด็กพิเศษ

การวัดความสามารถทางภาษา
  • เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูด
  • ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วยไหม
  • ถามหาสิ่งต่างๆไหม
  • เล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไหม
  • ใช้คำศัพท์ของตนเองกับผู้อื่น
การออกเสียงผิด / พูดไม่ชัด
  • การพูดตกหล่น
  • การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกเสียงหนึ่ง เช่น ง่วง เป็น น่วง
  • ติดอ่าง
  • พูดแสียงแปล่ง เช่น แล้ว เป็น แล่ว
  • การเพิ่มคำ เช่น ตกใจ เป็น ตกกะใจ
การปฎิบัติของครูและผู้ใหญ่
  • ไม่สนใจการพูดซ้ำหรือการออกเสียงไม่ชัด
  • ห้ามบอกเด็กว่า "พูดช้าๆ" "ตามสบาย" "คิดก่อนพูด"
  • อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูด ควรเป็นผู้ฟังที่ดี
  • อย่าเปลี่ยนมือข้างที่ถนัดของเด็ก
  • ไม่เปรียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น
  • เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยิน
  • การสังเกต บันทึกพฤติกรรมของเด็ก
ทักษะพื้นฐานทางภาษา
  • ทักษะการรับรู้ภาษา
  • การแสดงออกทางภาษา
  • การแสดงออกโดยไม่ใช้คำพูด หรือ อวัจนภาษา คือการแสดงออกทางท่าทาง สีหน้า พยักหน้า ส่ายหน้า เป็นต้น
ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย
  • การรับรู้ภาษามาก่อนการแสดงออกทางภาษา
  • การรู้และเข้าใจพัฒนาการทางภาษาของเด็ก
  • ภาษาท่าทางมาก่อนภาษาพูด
  • ให้เวลาเด็กได้พูด
  • คอยให้เด็กตอบชี้แนะเมื่อจำเป็น
  • เป็นผู้ฟังที่ดีและโต้ตอบอย่างฉับไว
  • เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังเพียงอย่างเดียว
  • ให้เด็กได้ทำกิจกรรมกลุ่ม เด็กพิเศษได้มีแบบอย่างจากเพื่อน
  • กระตุ้นให้เด็กยอกความต้องการของตนเอง
  • เน้นวิธีการสื่อความหมายมากกว่าการพูด
  • การใช้คำถามปลายเปิด
  • เด็กพิเศษรับรู้มากเท่าไหร่ยิ่งพูดได้มากเท่านั้น
  • ร่วมกิจกรรมกับเด็ก
ความรู้เพิ่มเติม การเข้าไปช่วยเหลือเด็กพิเศษการสอนตามเหตุการณ์(Incidental Teaching)
เหตุการณ์เด็กติดกระดุมเองไม่ได้
หน้าที่ครูหรือผู้ใกล้ชิด
1 เดินเข้าไปหาเด็กใช้คำถามหนูทำอะไรอยู่?
2 บอกบทเด็กติดกระดุมใช่ไหม? 
3 ให้ครูช่วยติดกระดุมไหม ไหนพูดตามครูซิติดกระดุม
4 เดี๋ยวครูช่วยหนูติดกระดุม
ข้อปฏิบัติง่ายๆ ย้ำ ซ้ำ ทวน ใจเย็นค่อยเป็นค่อยไป



กิจกรรมดนตรีเพื่อการบำบัดและศิลปะเพื่อการบำบัด




ประโยชน์ที่ได้รับ

1.พัฒนาด้านร่างกาย คือ กล้ามเนื้อมือมัดเล็ก การประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา การสังเกต
2.พัฒนาด้านอารมณ์ คือ การฟังดนตรีเพื่อความผ่อนคลาย การฟังจังหวะเพื่อเป็นพื้นฐานการพูด และสมาธิ
3.พัฒนาด้านสังคม คือ การสื่อสาภาษา การสร้างข้อตกลง การทำงานร่วมกัน
4.พัฒนาด้านสติปัญญา คือ ด้านมิติสัมพันธ์ ความคิดสร้างสรรค์ 

อนุบาลบ้านพลอยภูมิ

ความรู้ที่ได้รับ
1.การจัดกิจกรรมจังหวะกาย จังหวะชีวิต 
2.การจัดกิจกรรม หยิบ ยก ส่ง เพื่อสร้างสมาธิเด็ก และการฟังจังหวะ การทำงานร่วมกัน
3.กิจกรรมเพลงหอยโข่ง หอยโข่ง ตัวมันขดเป็นวงกลม เพลงสั้นๆง่ายๆและให้เด็กได้แสดงท่าทางและจินตนาการ
4.กิจกรรมบำบัดหรือส่งเสริมเด็กในการกระโดด เดิน ซึ่งกิจกรรมทั้งหมดมีการนำจังหวะและดนตรีเข้ามาใช้
5.สังเกตได้ว่าครูทุกคนสามารถเล่นเครื่องดนตรีได้ เป็นเสน่ห์ของการเป็นครู จนทำให้เรามองย้อนมาที่ตัวเราว่าควรมีเครื่องดนตรีสักชิ้นที่เราเล่นได้หรือร้องเพลงได้

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

1. การสังเกตพฤติกรรมของเด็กอย่างเป็นระบบ
2. การนำแบบประเมินการตอบสนองการแสดงออกทางภาษามาวัดใช้กับเด็กเพื่อเป็นแนวทางการแก้ไขและส่งเสริมพัฒนาการเด็ก
3. การเป็นผู้ฟังที่ดีขณะที่เด็กพูด
4. การบอกบทเด็กและการช่วยเหลือเด็ก
5. การรับผิดชอบเด็ก เช่นการชี้แนะ การเข้าใจพัฒนาการทางภาษาของเด็ก
6. การใช้คำถามปลายเปิด


7. การร่วมทำกิจกรรมกับเด็ก

การประเมิน

การประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงต่อเวลา มีความรู้และเข้าใจเนื้อหาการเรียนได้นำความเดิมมาเชื่อมโยงกับความรู้ใหม่ เช่น ครูจะส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาของเด็กพิเศษได้อย่างไร คือ การจัดห้องเรียนที่มีตัวหนังสือกำกับ การเล่านิทาน การพูดคุย การทำกิจกรรมหลักทั้ง6 กิจกรรม และวันนี้มีกิจรรมดนตรีและศิลปะเพื่อการบำบัดทำให้เราได้ลงมือทำและรู้ประโยชน์ของกิจกรรมเพื่อการนำไปประยุกต์ใช้

ประเมินเพื่อน : วันนี้มี 2กลุ่มเรียนรวมกัน ข้อดี คือ เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน การมีส่วนร่วมในการตอบคำถามมากขึ้นทำให้ทราบข้อมูลที่หลากหลาย และการทำกิจกรรมสนุกสนาน ส่วนข้อเสีย คือ การเรียนมีเสียงดัง เมื่อมีคนจำนวนมากทำให้การควบคุมลำบาก

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา การเตรียมเนื้อหาการสอนและวิดีโอประกอบการสอนทำให้เราทราบถึงพัฒนาการของเด็กพิเศษว่าเขาทำอะไรได้มากกว่าที่เราคิด และกิจกรรมก่อนการเรียนก็สร้างความสนุกเฮฮา กิจกรรมหลังเรียนก็สามารถเป็นแนวทางให้นักศึกษานำไปใช้ได้จริงค่ะ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น