วันอังคารที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 7


บันทึกอนุทินครั้งที่ 7

วันอังคาร ที่ 17 เดือน มีนาคม พ.ศ.2558


เนื้อหา / กิจกรรม

การส่งเสริมทักษะการช่วยเหลือตนเองของเด็กพิเศษ

"เรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระ"
  • การกินอยู่
  • การเข้าห้องน้ำ
  • การแต่งตัว
  • กิจวัตรต่างๆในการดำรงชีวิตประจำวัน

การสร้างความอิสระ

  • เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง
  • อยากทำตามความสามารคของตนเอง
  • การเลียนแบบจากคนรอบข้าง เพื่อน พี่ ผู้ใหญ่

ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ

  • ทำได้ด้วยตนเอง
  • เชื่อนมั่นในตนเอง
  • ภูมิใจในตนเอง
  • เรียนรู้ความรู้สึกที่ดี

หัดให้ทำเอง

  • ผู้ใหญ่ไม่ช่วยเหลือจนเกินความจำเป็น (ใจแข็ง)
  • ช่วยเหลือในสิ่งที่เด็กขอให้ช่วย
  • คำต้องห้าม "หนูทำช้า"  "หนูยังทำไม่ได้"

ช่วยเหลือเมื่อไหร่?

  • บางวันเด็กไม่อยากทำอะไร หงุดหงิด เบื่อ ไม่สบาย
  • หลายครั้งเด็กจะขอความช่วยเหลือในสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว
  • เด็กรู้สึกว่ายังมีผู้ใหญ่ที่พึ่งได้ แต่จะต้องได้รับความช่วยเหลือเฉพาะสิ่งที่ด็กต้องการ
  • มักช่วยเด็กในช่วงกิจกรรม

ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง
  • แบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองเป็นขั้นย่อยๆ
  • เรียงลำดับตามขั้นตอน
  • สอนแบบก้าวหน้า หรือ สอนแบบถอยหลัง
การเข้าส้วม
  • เข้าห้องน้ำ
  • ดึงกางเกงลง
  • ก้าวขึ้นไปนั่งโถส้วม
  • ปัสสาวะหรืออุจจาระ
  • ใช้กระดาษชำระเช็ดก้น
  • ทิ้งกระดาษลงในตะกร้า
  • กดชักโรกหรือตักน้ำราด
  • ดึงกางเกงขึ้น
  • ล้างมือ
  • เช็ดมือ
  • เดินออกจากห้องน้ำ
การวางแผนทีละขั้น

  • แยกกิจกรรมป็นขั้นย่อยๆให้มากที่สุด
สรุป
  • พยายามให้เด็กช่วยเหลือตนเอง
  • ย่อยงานเป็นขั้นๆ
  • ความสำเร็จขั้นเล็กๆนำไปสู่ความสำเร็จทั้งมวล
  • ช่วยให้เด็กมีความมั่นใจในตนเอง
  • เด็กพึ่งตนเองได้รู้สึกอิสระ
  • เปิดโอกาสให้เด็กมรอิสระในการช่วยเหลือตนเอง
  • เป็ผูอำนวยความสะดวกให้เด็ก
กิจกรรมวงกลมหัวใจ
วงกลมหัวใจ สื่อความหมายว่า เป็นคนหนักแน่นและเชื่อมั่นในตนเอง เป็นคนคิดเล็กคิดน้อย 

กิจกรรมต้นไม้ชีวิต

ต้นไม้ชีวิต สื่อความหายว่า พลังแห่งความสามัคคี

ประโยชน์ของกิจกรรม
  • พัฒนากล้ามนื่อมัดเล็กในการวาดระบายสี
  • พัฒนาการประสานสัมพันระหว่างมือกับตา
  • ฝึกสมาธิ
  • มีอิสระในการคิดการระบายสี
  • การทำงานร่วมกับผู้อื่น
  • มิติสัมพันธ์
  • คณิตศาสตร์ เรื่องสี รูปทรง
การนำความรู้ไปใช้
  • การเปิดโอกาสให้เด็กได้ช่วยเหลือตนเองไม่ว่าจะเด็กปกติหรือเด็กพิเศษ
  • การมอบอิสระให้กับด็กเพื่อให้เด็กได้ลงมืออย่างเต็มที่
  • การสร้างหรือสนับสนุนให้เด็กเชื่อมั่นในตนเอง
  • การย่อยงานเป็นลำดับขั้นตอน
  • การสอนเด็กอย่างก้าวหน้าหรือถอยหลังเพื่อให้เด็กรู้กระบวนการ
  • การช่วยเหลือเด็กเฉพาะสิ่งที่เด็กขอ
  • การมีเทคนิคการพูดที่ดีกับเด็ก
การประเมิน

ประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา ร่วมทำกิจกรรมก่อนเรียนได้อย่างสนุกสนาน ตั้งใจเรียนเนื้อหาการส่งเสริมเด็กพิเศษ ร่วมแสดงความคิดเห็น ซักถามกับสิ่งที่สงสัย ทำให้การเรียนวันนี้สนุกและราบรื่น ได้ความรู้ความเข้าใจ 100 % และสุดท้ายกิจกรรมวาดวงกลม ทำให้ได้ถ่ายทอดความคิด ความรู้สึกของตนเอง กิจกรรมต้นไม้ชีวิต ทำให้เราทราบถึงความสามัคคีของเพื่อนในห้อง และเราจะต้องรักษาสิ่งดีๆแบบนี้ไว้

ประเมินเพื่อน : เพื่อนมีวินัยในชั้นเรียน แต่งตัวเรียบร้อย ตั้งใจเรียนและมีการซักถามข้อที่สงสัย และสิ่งที่ไม่เข้าใจ ทำให้ได้ความรู้เพิ่มเติมมากขึ้น และเพื่อนร่วมทำกิจกรรมอย่างสนุกสนาน และความสามัคคี

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา นำเรื่องราวดีมาเล่าสู่กันฟัง นำกิจกรรมสนุกๆมาเล่นเพื่อให้เกิดความสนุกและตื่นตัว เนื้อหาการเรียนกระชับได้ใจความ อาจารย์อธิบายเนื้อหาเพิ่มเติมทำให้ได้รับความรู้ที่หลากหลาย PPT เตรียมมาดีและสวยน่ารักมาก สุดท้ายกับกิจกรรมวาดวง กิจกรรมต้นไม้ชีวิต ทำให้เห็นตัวตนของนักศึกษา และการทำงานร่วมกันด้วยความสามัคคี



วันพุธที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 6


บันทึกอนุทินครั้งที่ 6

วันอังคาร ที่ 10 เดือน มีนาคม พ.ศ.2558


เนื้อหา / กิจกรรม


การส่งเสริมทักษะทางภาษาของเด็กพิเศษ

การวัดความสามารถทางภาษา
  • เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูด
  • ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วยไหม
  • ถามหาสิ่งต่างๆไหม
  • เล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไหม
  • ใช้คำศัพท์ของตนเองกับผู้อื่น
การออกเสียงผิด / พูดไม่ชัด
  • การพูดตกหล่น
  • การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกเสียงหนึ่ง เช่น ง่วง เป็น น่วง
  • ติดอ่าง
  • พูดแสียงแปล่ง เช่น แล้ว เป็น แล่ว
  • การเพิ่มคำ เช่น ตกใจ เป็น ตกกะใจ
การปฎิบัติของครูและผู้ใหญ่
  • ไม่สนใจการพูดซ้ำหรือการออกเสียงไม่ชัด
  • ห้ามบอกเด็กว่า "พูดช้าๆ" "ตามสบาย" "คิดก่อนพูด"
  • อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูด ควรเป็นผู้ฟังที่ดี
  • อย่าเปลี่ยนมือข้างที่ถนัดของเด็ก
  • ไม่เปรียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น
  • เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยิน
  • การสังเกต บันทึกพฤติกรรมของเด็ก
ทักษะพื้นฐานทางภาษา
  • ทักษะการรับรู้ภาษา
  • การแสดงออกทางภาษา
  • การแสดงออกโดยไม่ใช้คำพูด หรือ อวัจนภาษา คือการแสดงออกทางท่าทาง สีหน้า พยักหน้า ส่ายหน้า เป็นต้น
ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย
  • การรับรู้ภาษามาก่อนการแสดงออกทางภาษา
  • การรู้และเข้าใจพัฒนาการทางภาษาของเด็ก
  • ภาษาท่าทางมาก่อนภาษาพูด
  • ให้เวลาเด็กได้พูด
  • คอยให้เด็กตอบชี้แนะเมื่อจำเป็น
  • เป็นผู้ฟังที่ดีและโต้ตอบอย่างฉับไว
  • เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังเพียงอย่างเดียว
  • ให้เด็กได้ทำกิจกรรมกลุ่ม เด็กพิเศษได้มีแบบอย่างจากเพื่อน
  • กระตุ้นให้เด็กยอกความต้องการของตนเอง
  • เน้นวิธีการสื่อความหมายมากกว่าการพูด
  • การใช้คำถามปลายเปิด
  • เด็กพิเศษรับรู้มากเท่าไหร่ยิ่งพูดได้มากเท่านั้น
  • ร่วมกิจกรรมกับเด็ก
ความรู้เพิ่มเติม การเข้าไปช่วยเหลือเด็กพิเศษการสอนตามเหตุการณ์(Incidental Teaching)
เหตุการณ์เด็กติดกระดุมเองไม่ได้
หน้าที่ครูหรือผู้ใกล้ชิด
1 เดินเข้าไปหาเด็กใช้คำถามหนูทำอะไรอยู่?
2 บอกบทเด็กติดกระดุมใช่ไหม? 
3 ให้ครูช่วยติดกระดุมไหม ไหนพูดตามครูซิติดกระดุม
4 เดี๋ยวครูช่วยหนูติดกระดุม
ข้อปฏิบัติง่ายๆ ย้ำ ซ้ำ ทวน ใจเย็นค่อยเป็นค่อยไป



กิจกรรมดนตรีเพื่อการบำบัดและศิลปะเพื่อการบำบัด




ประโยชน์ที่ได้รับ

1.พัฒนาด้านร่างกาย คือ กล้ามเนื้อมือมัดเล็ก การประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา การสังเกต
2.พัฒนาด้านอารมณ์ คือ การฟังดนตรีเพื่อความผ่อนคลาย การฟังจังหวะเพื่อเป็นพื้นฐานการพูด และสมาธิ
3.พัฒนาด้านสังคม คือ การสื่อสาภาษา การสร้างข้อตกลง การทำงานร่วมกัน
4.พัฒนาด้านสติปัญญา คือ ด้านมิติสัมพันธ์ ความคิดสร้างสรรค์ 

อนุบาลบ้านพลอยภูมิ

ความรู้ที่ได้รับ
1.การจัดกิจกรรมจังหวะกาย จังหวะชีวิต 
2.การจัดกิจกรรม หยิบ ยก ส่ง เพื่อสร้างสมาธิเด็ก และการฟังจังหวะ การทำงานร่วมกัน
3.กิจกรรมเพลงหอยโข่ง หอยโข่ง ตัวมันขดเป็นวงกลม เพลงสั้นๆง่ายๆและให้เด็กได้แสดงท่าทางและจินตนาการ
4.กิจกรรมบำบัดหรือส่งเสริมเด็กในการกระโดด เดิน ซึ่งกิจกรรมทั้งหมดมีการนำจังหวะและดนตรีเข้ามาใช้
5.สังเกตได้ว่าครูทุกคนสามารถเล่นเครื่องดนตรีได้ เป็นเสน่ห์ของการเป็นครู จนทำให้เรามองย้อนมาที่ตัวเราว่าควรมีเครื่องดนตรีสักชิ้นที่เราเล่นได้หรือร้องเพลงได้

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

1. การสังเกตพฤติกรรมของเด็กอย่างเป็นระบบ
2. การนำแบบประเมินการตอบสนองการแสดงออกทางภาษามาวัดใช้กับเด็กเพื่อเป็นแนวทางการแก้ไขและส่งเสริมพัฒนาการเด็ก
3. การเป็นผู้ฟังที่ดีขณะที่เด็กพูด
4. การบอกบทเด็กและการช่วยเหลือเด็ก
5. การรับผิดชอบเด็ก เช่นการชี้แนะ การเข้าใจพัฒนาการทางภาษาของเด็ก
6. การใช้คำถามปลายเปิด


7. การร่วมทำกิจกรรมกับเด็ก

การประเมิน

การประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงต่อเวลา มีความรู้และเข้าใจเนื้อหาการเรียนได้นำความเดิมมาเชื่อมโยงกับความรู้ใหม่ เช่น ครูจะส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาของเด็กพิเศษได้อย่างไร คือ การจัดห้องเรียนที่มีตัวหนังสือกำกับ การเล่านิทาน การพูดคุย การทำกิจกรรมหลักทั้ง6 กิจกรรม และวันนี้มีกิจรรมดนตรีและศิลปะเพื่อการบำบัดทำให้เราได้ลงมือทำและรู้ประโยชน์ของกิจกรรมเพื่อการนำไปประยุกต์ใช้

ประเมินเพื่อน : วันนี้มี 2กลุ่มเรียนรวมกัน ข้อดี คือ เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน การมีส่วนร่วมในการตอบคำถามมากขึ้นทำให้ทราบข้อมูลที่หลากหลาย และการทำกิจกรรมสนุกสนาน ส่วนข้อเสีย คือ การเรียนมีเสียงดัง เมื่อมีคนจำนวนมากทำให้การควบคุมลำบาก

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา การเตรียมเนื้อหาการสอนและวิดีโอประกอบการสอนทำให้เราทราบถึงพัฒนาการของเด็กพิเศษว่าเขาทำอะไรได้มากกว่าที่เราคิด และกิจกรรมก่อนการเรียนก็สร้างความสนุกเฮฮา กิจกรรมหลังเรียนก็สามารถเป็นแนวทางให้นักศึกษานำไปใช้ได้จริงค่ะ


วันศุกร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 5


บันทึกอนุทินครั้งที่ 5

วันอังคาร ที่ 3 เดือน มีนาคม พ.ศ.2558


เนื้อหา / กิจกรรม


การส่งเสริมทักษะทางสังคมของเด็กพิเศษ
  • สภาพแวดล้อมที่ดีไม่ได้เป็นเครื่องการันตีว่าเด็กจะมีพัฒนาการๆอย่างมีความสุข
  • การปรับสภาพสังคมควรปรับที่ตัวของเด็ก
กิจกรรมการเล่น
  • ในช่วงแรกๆเด็กจะไม่มองเด็กอื่นเป็นเพื่อน แต่จะเป็นอะไรสักอย่างที่น่าสำรวจ สัมผัส ผลักดึง
  • การเล่นเป็นสิ่งสำคัญของทักษะทางสังคม
  • การมีสื่อที่ดีจะเป็นสื่อกลางในการเรียนรู้ทักษะด้านต่างๆของเด็ก
ยุทธศาสตร์การสอน
  • ครูเริ่มต้นสังเกตพฤติกรรมเด็กอย่างเป็นระบบ
  • ครูบันทึกพฤติกรรม
  • ทำแผน IEP 
การกระตุ้นการเลียนแบบและการเอาอย่าง
  • วางแผนกิจกรรมการเล่นไว้หลายอย่าง
  • ให้เด็กเล่นเป็นกลุ่มเล็กๆ 2-4 คน
  • จัดให้เด็กปกติกับเด็กพิเศษ 3:1 
ครูควรปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น




  • สังเกตอยู่ใกล้ๆและเฝ้ามองอย่างสนใจ
  • มีปฏิกิริยากับเด็ก เช่น ยิ้ม พยักหน้า
  • ไม่ชมเชยหรือสนใจเด็กมากเกินไป
  • เอาวัสดุหรือสื่อมาเพิ่มที่ละน้อย เพื่อยืดเวลาการเล่น
  • ให้ความคิดเห็นที่เป็นแรงเสริม
เหตุการณ์1 : แบ่งกลุ่มเด็ก 4 คน โดย 3:1 เพื่อการเรียนรู้และการดูแลเพื่อนที่เหมาะสม การให้สื่อควรให้จำนวนครึ่งหนึ่งของจำนวนเด็ก เพื่อให้เด็กได้แลกเปลี่ยนกันเล่น และการเอาสื่อมาเพิ่มให้เด็กเพื่อเป็นการยืดเวลาการเล่น

หากเกิดเหตุการณ์เด็กพิเศษยืนมองเพื่อนเล่น ไม่กล้าเข้าไปในกลุ่มเพื่อนครูควรทำอย่างไร ?

เหตุการณ์2 : เด็กไม่เข้าไปเล่นกับกลุ่มเพื่อน ได้แต่ยืนมองดูเพื่อนเล่น ครูควรสร้างจุดเด่นให้เด็ก จุดเด่นที่ว่านั่นก็คือ ให้เด็กถือของเล่นข้าไปหาเพื่อน แล้วครูพูดกับเด็กว่า "ดูซิคะเพื่อนมีของเล่นมาเล่นด้วย เราให้เพื่อนเล่นด้วยนะคะ" 

การช่วยเด็กทุกคนให้รู้กฏเกณฑ์
  • เรื่องการปฏิบัติตามกฏกติกาไม่ใช่เรื่องงายสำหรับเด็กพิเศษ แต่เราทำได้โดยให้โอกาสเด็กทุกคน
  • จำไว้และปฏิบัติว่าเด็กทุกตนมีสิทธิ์เท่าเทียมกัน ครูไม่ควรเอาความบกพร่องของเด็กเป็นเครื่องต่อรองต่างๆ
กิจกรรม ดนตรีเพื่อการบำบัดและศิลปะเพื่อการบำบัด


การทำกิจกรรม 
  1. ให้เด็กจับคู่กัน 2คน และให้เลือกสีที่ชอบมาคนละ 1 แท่ง
  2. ให้เด็กคนที่ 1 เป็นคนลากเส้นตามจังหวะและเสียงเพลง
  3. ให้เด็กคนที่ 2 เป็นคนวาดจุดตรงที่ว่างของรอยตัดตามเพื่อนที่ลากเส้นตามจังหวะและเสียงเพลง
  4. ให้ระบายสีภาพตรงช่วงรอยต่อที่เด็กมองเห็นและจินตนาการ เช่น ปลา ดอกไม้ ต้นไม้ พญานาค
  5. ให้เด็กนำเสนอผลงาน
ประโยชน์ที่ได้รับ
  1. กิจกรรมนี้ใช้ได้ทั้งเด็กปกติและเด็กพิเศษ
  2. ฝึกสมาธิของเด็ก
  3. ส่งเสริมทักษะการฟังเสียง
  4. ส่งเสริมการทำงานร่วมกับเพื่อน
  5. พัฒนากล้ามเนื้อมือและการประสานสัมพันธ์กันตา
  6. พัฒนาด้านอารมณ์ในการผ่อนคลายและความซาบซึ้งในจังหวะ

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  1. การปรับพฤติกรรมของเด็กเราควรทำที่ตัวเด็กเอง
  2. การแบ่งกลุ่มเด็กปกติและเด็กพิเศษให้เป็น 3:1
  3. การจัดประสบการณ์ให้เด็กทำงานร่วมกัน
  4. การเพิ่มสื่อให้เด็กเพื่อยืดเวลาความสนใจและการเล่นของเด็ก
  5. การพูดนำเด็กให้เป็น และการใช้แรงเสริมโดยการพูด
  6. การสร้างจุดเด่นให้กับเด็กพิเศษเพื่อให้เด็กได้มีโอกาสเล่นกับเพื่อน
  7. การสร้างกฏกติกาการเล่นให้เท่าเทียมกัน
  8. การจัดกิจกรรมเป็นเกมการเล่นเพื่อให้เด็กได้เล่นอุปกรณ์ได้ทั่วถึง

การประเมิน

ประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงต่อเวลา มีวินัยในห้องเรียน ร่วมแสดงความคิดเห็นกับกิจกรรมในชั้นเรียน สนุกสนานกับกิจกรรมที่อาจารย์นำมาสอน

ประเมินเพื่อน : เพื่อนมีวินัยในชั้นเรียน ทุกคนตั้งใจเรียนและทำงานของตนเอง ร่วมกันตอบคำถามและแสดงความคิดเห็นกับอาจารย์ ทำให้บรรยากาศสนุกสนานและมีความสุข

ปนะเมินอาจารย์ : อาจารย์เป็นตัวอย่างที่ดี คือ เข้าสอนตรงเวลา พูดฉะฉาน เป็นกันเอง ดูแลนักศึกษาอย่างทั่วถึง นำกิจกรรมสนุกๆมาสร้างความสนุก ทำหใ้มีเสียงหัวเราะ และได้นำรูปแบบการจัดกิจกรรมาให้เพื่อเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมให้เด็กต่อไป