วันพุธที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 9


บันทึกอนุทินครั้งที่ 9

วันอังคาร ที่ 21 เดือน เมษายน พ.ศ.2558

เนื้อหา / กิจกรรม

โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program)

แผน IEP
  • เพื่อให้เด็กพิเศษได้รับการสอน การช่วยเหลือการฟื้นฟูอย่างเหมาะสม
  • การจัดแผนต้องให้ผู้ต้องครองอนุมัติแผน
  • การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้
การเขียนแผน IEP
  • คัดแยกเด็ก
  • ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร
  • เป็นเมินพัฒนาการเป็นระยะ และเป็นระบบ
  • เขียนแผน IEP
แผน IEP ประกอบด้วย
  • ข้อมูลส่วนตัวเด็ก
  • ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
  • การระบุความสามารถของเด็กในปัจจุบัน
  • เป้าหมายระยะยาวประจำปี / ระยะสั้น
  • ระบุวัน เดือน ปี ที่เริ่มการสอน และคาดการสิ้นสุดของเแผน
  • วิธีการประเมิน
ประโยชน์ต่อเด็ก
  • เรียนรู้ตามความสามารถของตนเอง
  • มีโอกาสพัฒนาศักยภาพของตนเอง
  • ได้รับศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่อง
ประโยชน์ต่อครู
  • เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถของเด็ก
  • เป็นแนวทางในการเลือกสื่อและนวัตกรรมการสอน
  • ปรับเปลี่ยนเวลาได้เมื่อต้องการเปลี่ยนแปลง
  • เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียน
  • ตรวจสอบและประเมินได้เป็นระยะ
ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
  • ได้มีส่วนร่วมในการจัดแผนการสอน
  • รู้แนวทางการฝึกและส่งเสริมลูก
  • เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก
ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล
รวบรวมข้อมูล
  • รายงานทางการแพทย์
  • รายงานประเมินด้านต่างๆ
  • บันทึกจากผู้ปกครอง ครู และผู้เกี่ยวข้อง
การจัดทำแผน
  • ประชุมผู้เกี่ยวข้อง
  • กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาวและระยะสั้น
  • กำหนดโปรแกรมและกิจกรรม
  • จะต้องได้รับการรับรองแผนจากที่ฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
กำหนดจุดมุ่งหมาย
  • ระยะสั้น
  • ระยะยาว
จุดมุ่งหมายระยะยาว
  • กำหนดให้ชัดเจน แม้จะกว้าง เช่น นุ่นช่วยเหลือตนเองได้ / ดาวร่วมมือกับผู้อืนได้ดีขึ้น 
จุดมุ่งหมายระยะสั้น
  • ตั้งให้อยู่ภายใต้จุดหมายหลัก
  • เป็นพฤติกรรมที่เด็กสามารถทำได้ในระยะ 2 - 3 วัน หรือ 2 - 3 สัปดาห์
  • จะสอนใคร
  • พฤติกรรมอะไร
  • เมื่อไหร่ ที่ไหน 
  • พฤติกรรมนั้นต้องดีขนาดไหน
ตัวอย่าง
  • ใคร                              อรุณ
  • อะไร                            กระโดดขาเดียวได้
  • เมื่อไหร่ / ที่ไหน         กิจกรรมกลางแจ้ง
  • ดีขนาดไหน                กระโดดได้ขาละ 5 ครั้ง ในเวลา 30 วินาที

การใช้แผน
  • เมื่อแผนเสร็จสมบูรณ์ ครูจะนำไปใช้โดยใช้แผนระยะสั้น
  • นำมาทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
  • แยกย่อนขั้นตอนการสอนให้เหมาะสมกับเด็ก
  • จัดเตรียมสื่อและจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
  • ต้องมีการสังเกต เก็บรวบรวมข้อมูล โดยคำนึง
  1. ขั้นตอนพัฒนาการของเด็กปกติ
  2. ตัวชี้วัดพื้นฐานที่เกี่ยวกับปัญหาของพัฒนาการของเด็ก
  3. อิทธิพลสิ่งแวดล้อมของเด็กและผู้ใหญ่ที่มีผลต่อการแสดงออกของเด็ก
การประเมิน
  1. โดยทั่วไปจะประเมินภาคเรียนละครั้ง หรือย่อยกว่านั้น
  2. ควรมีการกำหนดวิธีการประเมิน และเกณฑ์วัดผล
  3. การประเมินในแต่ละทักษะหรือแต่ละกิจกรรมอาจมช้วิธีวัดและกำหนดเกณฑ์แตกต่างกัน
กิจกรรม : การเแบ่งกลุ่มขียนแผน IEP 

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  1. การศึกษาข้อมูลและเก็บรวบรวมข้อมูลให้ถูกต้องเพื่อการพัฒนาเด็ก
  2. การนำความรู้การเขียนไปใช้ในการเรียนการสอนในระดับสูงต่อไป
  3. การเขียนแผนระยะสั้น ระยะยาว ให้ตรงกับความสามารถของเด็ก
  4. การนำตัวอย่างการเขียนแผนไปเป็นแนวทางในการสร้างแผนสำหรับเด็กพิเศษ
การประเมิน

ประเมินตนเอง : มีวินัยในชั้นเรียน ตั้งใจเรียนและบันทึกข้อมูลเพิ่มเติม ร่วมทำแผนการสอนกับเพื่อนจนสำเร็จและถูกต้อง

ประเมินเพื่อน : เพื่อนตั้งใจเรียนกับเนื้อหาที่อาจารย์นำมาสอน และทุกคนช่วยกันทำงานที่ได้รับมอบหมายจนสำเร็จ บรรยากาศการเรียนและการทำงานวันนี้ทำให้ทราบถึงความรู้ความเข้าใจของนักศึกษาที่ได้รับ

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เป็นแบบอย่างที่ดี เข้าตรงเวลา อธิบายข้อมูลเพิ่มเติม เน้นย้ำส่วนสำคัญ จนทำให้นักศึกษาเกิดความรู้และความเข้าใจมากขึ้น จนสามารถเขียนแผนได้สำเร็จ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น