วันจันทร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 10


บันทึกอนุทินครั้งที่ 10

วันอังคาร ที่ 30 เดือน เมษายน พ.ศ.2558


กิจกรรมวันนี้ ร้องเพลงสำหรับเด็กปฐมวัย

การเริ่มต้นที่แสนระทึก

     การจับฉลากเลขที่ ใครไม่เป็นเจ้าตัวคงไม่รู้ว่าหัวใจมันเต้นรัวแทบนับไม่ทันว่ากี่ครั้งต่อวินาที เครื่องฟังเสียงคลื่นหัวใจคงทำงานขัดข้องแน่ๆถ้านำมาวัดกับนักศึกษาในวันนี้ เครื่องวัดค่าความดันคงสูงปี๊ดถึงขีดสุดหากพยาบาลสนามมาวันนี้

ด่านที่ 2 ที่ไม่เป็นรองใคร

     ว่าด้วยเรื่องคิวนักแสดงที่แสตนบายรอแต่ละรอบแล้ว ลุ้นว่าเพื่อนที่ออกไปก่อนหน้าจะได้เพลงอะไร แล้วเพลงที่ลอดเข่งมาถึงมือเราจะเป็นเพลงอะไรบ้าง ด่านนี้ไม่ยากไม่ง่ายเพราะมีเนื้อเพลง หรือบทให้นักแสดงได้ทำความรู้จักทักทายกันก่อน แล้วนำสู่การท่องทำนองเสนาะ ถ้าใครโชคบุญหนุนนำก็ได้บทเพลงที่ตนเองถนัด แต่หากใครไม่เคยรับบทนางเอกมาก่อน ก็ต้องทำใจยืนหน้านิ่ง ยิ้มหวาน แววตาฉ่ำๆกับชตานี้ไปครอง

ด่านที่ 3 กับการตัดสินใจ

ชีวิตที่แขวนอยู่บนเส้นด้าย เรามีตัวเลือกให้คุณ 3 อย่าง
  1. ดูเนื้อร้อง -1
  2. ให้เพื่อนช่วยร้อง -1
  3. ดำน้ำแวกว่ายตามธารา +5
เอาล่ะค่ะถึงเวลาที่คุณต้องเลือกแล้ว ตัดสินใจดีๆเพราะนี่คือชีวิตคุณ!!!!!!!!!

เมื่อถึงคิวสาวงามหมายเลข 17

     เดินไปด้วยแววตาอันหวานฉ่ำ ในใจนึกถึงพระคุณพ่อแม่ บุญทั้งหลายที่ลูกทำมาจงหนุนนำให้พบทางสว่างกระจ่างใส ขอให้ท่านปัดมือลูกใส่ใบขาวๆม้วนๆบทสั้นๆง่ายๆ ด้วยเถิดสาธุ เพี้ยง!!!!!!!!!!!!!
    
     คำอฐิฐานนี่แร๊งแรง.....มือป้อมๆน้อยค่อยๆไต่ สายตาอันคมกริบกวาดมองไปมา ความศรัทราอันแรงกล้ารวบรวมพลังหยิบขึ้นมา แล้วค่อยเปิดดู โอ้คุณพระ.....เพลงดอกไม้ ถ่อมตัวเบาๆร้องไม่เป็นเลย ถึงเวลาโชว์ลูกคอ 18 ชั้น สั่นสะท้านโลกา 1 2 3

"ดอกไม้ต่างพันธุ์สวยงามสดสี เหลือง แดง ม่วงมี แสด ขาว ชมพู"
โชว์เบาๆ 2 รอบ ไพเราะเพราะพลิ้วสบายหู (อันนี้คิดเอาเองนะคะ)

เรามาพูดคุยถึงสาวงามหมายเลขอื่นๆกัน
     
     อย่างที่กล่าวไว้ขั้นต้นใครได้เพลงถนัดก็บุญรอดไป เสียงไพเราะเสนาะหู หากชายใดได้ฟังจะเอียงเอน โอ้เจ้าเป็นนางงามประดับใจ

     แล้วถ้าสาวคนใดได้เพลงที่ไม่ถนัดล่ะชีวิตนี้จะสนุกแค่ไหน อิอิก็ไม่มีอะไรมากก็แค่ดำน้ำ มุดดินศิษย์พระร่วง โผล่ขึ้นมาก็โชว์ลีลาลูกคอกระโดดกบ หลงเข้าป่ากว่าจะกลับมาคนเคาะจังหวะก็ขำจนท้องแข็ง แต่โชคยังเข้าข้างสาวงามผู้จิตใจดีก็ช่วยกันดึงให้กลับสู่ทำนองครองธรรม ( ไม่ได้นินทราว่าร้ายใครนะคะ ถือว่าสีสันประดับดาว)

ใครกันเล่าที่คิดแผนการนี้

     อ่านไปยิ้มใช่ไหมล่ะค่ะ เอาแบบทางการตั้งแต่ต้นจนจะจบแล้ว เปลี่ยนแนวดีกว่าจะได้ยิ้มๆเวลาอ่าน สำหรับลูกศิษย์คนนี้ขอขอบคุณอาจารย์เบียร์มากๆๆๆๆๆๆๆๆๆเลยนะคะที่ทำทุกอย่างเพื่อพวกเรา จัดเตรียมสิ่งต่างๆมาให้เราเล่นกันอย่างสนุกสนาน เมื่อถึงเนื้อหาการเรียนก็เรียนง่ายเข้าใจมีความสุขทุกครั้งเลย ชีวิตคนเรามีสุขมีทุกข์เป็นเรื่องธรรมดา เวลาที่หนูท้อ เหนื่อย ไม่อยากทำอะไรแล้วแต่วิชานี้เป็นวิชาที่หนูอยากเรียนที่สุด ความรู้ที่หนู้ได้นับได้ว่า 100% ความสนุกก็ได้มาเต็มๆ ขอบคุณความรักที่มอบให้พวกเรามาตลอดไม่ขาดสาย รักอาจารย์เบียร์มากๆนะคะ ขอให้อาจารย์เป็นที่รักของพวกเราแบบนี้ตลอดไป หากลูกศิษย์คนนี้ทำอะไรผิดพลาด ล้าช้า หนูหวังว่าอาจารย์จะให้อภัยหนูแก้ตัวปรับปรุงอีกครั้งนะคะ รักที่สุด



วันพุธที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 9


บันทึกอนุทินครั้งที่ 9

วันอังคาร ที่ 21 เดือน เมษายน พ.ศ.2558

เนื้อหา / กิจกรรม

โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program)

แผน IEP
  • เพื่อให้เด็กพิเศษได้รับการสอน การช่วยเหลือการฟื้นฟูอย่างเหมาะสม
  • การจัดแผนต้องให้ผู้ต้องครองอนุมัติแผน
  • การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้
การเขียนแผน IEP
  • คัดแยกเด็ก
  • ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร
  • เป็นเมินพัฒนาการเป็นระยะ และเป็นระบบ
  • เขียนแผน IEP
แผน IEP ประกอบด้วย
  • ข้อมูลส่วนตัวเด็ก
  • ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
  • การระบุความสามารถของเด็กในปัจจุบัน
  • เป้าหมายระยะยาวประจำปี / ระยะสั้น
  • ระบุวัน เดือน ปี ที่เริ่มการสอน และคาดการสิ้นสุดของเแผน
  • วิธีการประเมิน
ประโยชน์ต่อเด็ก
  • เรียนรู้ตามความสามารถของตนเอง
  • มีโอกาสพัฒนาศักยภาพของตนเอง
  • ได้รับศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่อง
ประโยชน์ต่อครู
  • เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถของเด็ก
  • เป็นแนวทางในการเลือกสื่อและนวัตกรรมการสอน
  • ปรับเปลี่ยนเวลาได้เมื่อต้องการเปลี่ยนแปลง
  • เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียน
  • ตรวจสอบและประเมินได้เป็นระยะ
ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
  • ได้มีส่วนร่วมในการจัดแผนการสอน
  • รู้แนวทางการฝึกและส่งเสริมลูก
  • เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก
ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล
รวบรวมข้อมูล
  • รายงานทางการแพทย์
  • รายงานประเมินด้านต่างๆ
  • บันทึกจากผู้ปกครอง ครู และผู้เกี่ยวข้อง
การจัดทำแผน
  • ประชุมผู้เกี่ยวข้อง
  • กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาวและระยะสั้น
  • กำหนดโปรแกรมและกิจกรรม
  • จะต้องได้รับการรับรองแผนจากที่ฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
กำหนดจุดมุ่งหมาย
  • ระยะสั้น
  • ระยะยาว
จุดมุ่งหมายระยะยาว
  • กำหนดให้ชัดเจน แม้จะกว้าง เช่น นุ่นช่วยเหลือตนเองได้ / ดาวร่วมมือกับผู้อืนได้ดีขึ้น 
จุดมุ่งหมายระยะสั้น
  • ตั้งให้อยู่ภายใต้จุดหมายหลัก
  • เป็นพฤติกรรมที่เด็กสามารถทำได้ในระยะ 2 - 3 วัน หรือ 2 - 3 สัปดาห์
  • จะสอนใคร
  • พฤติกรรมอะไร
  • เมื่อไหร่ ที่ไหน 
  • พฤติกรรมนั้นต้องดีขนาดไหน
ตัวอย่าง
  • ใคร                              อรุณ
  • อะไร                            กระโดดขาเดียวได้
  • เมื่อไหร่ / ที่ไหน         กิจกรรมกลางแจ้ง
  • ดีขนาดไหน                กระโดดได้ขาละ 5 ครั้ง ในเวลา 30 วินาที

การใช้แผน
  • เมื่อแผนเสร็จสมบูรณ์ ครูจะนำไปใช้โดยใช้แผนระยะสั้น
  • นำมาทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
  • แยกย่อนขั้นตอนการสอนให้เหมาะสมกับเด็ก
  • จัดเตรียมสื่อและจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
  • ต้องมีการสังเกต เก็บรวบรวมข้อมูล โดยคำนึง
  1. ขั้นตอนพัฒนาการของเด็กปกติ
  2. ตัวชี้วัดพื้นฐานที่เกี่ยวกับปัญหาของพัฒนาการของเด็ก
  3. อิทธิพลสิ่งแวดล้อมของเด็กและผู้ใหญ่ที่มีผลต่อการแสดงออกของเด็ก
การประเมิน
  1. โดยทั่วไปจะประเมินภาคเรียนละครั้ง หรือย่อยกว่านั้น
  2. ควรมีการกำหนดวิธีการประเมิน และเกณฑ์วัดผล
  3. การประเมินในแต่ละทักษะหรือแต่ละกิจกรรมอาจมช้วิธีวัดและกำหนดเกณฑ์แตกต่างกัน
กิจกรรม : การเแบ่งกลุ่มขียนแผน IEP 

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  1. การศึกษาข้อมูลและเก็บรวบรวมข้อมูลให้ถูกต้องเพื่อการพัฒนาเด็ก
  2. การนำความรู้การเขียนไปใช้ในการเรียนการสอนในระดับสูงต่อไป
  3. การเขียนแผนระยะสั้น ระยะยาว ให้ตรงกับความสามารถของเด็ก
  4. การนำตัวอย่างการเขียนแผนไปเป็นแนวทางในการสร้างแผนสำหรับเด็กพิเศษ
การประเมิน

ประเมินตนเอง : มีวินัยในชั้นเรียน ตั้งใจเรียนและบันทึกข้อมูลเพิ่มเติม ร่วมทำแผนการสอนกับเพื่อนจนสำเร็จและถูกต้อง

ประเมินเพื่อน : เพื่อนตั้งใจเรียนกับเนื้อหาที่อาจารย์นำมาสอน และทุกคนช่วยกันทำงานที่ได้รับมอบหมายจนสำเร็จ บรรยากาศการเรียนและการทำงานวันนี้ทำให้ทราบถึงความรู้ความเข้าใจของนักศึกษาที่ได้รับ

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เป็นแบบอย่างที่ดี เข้าตรงเวลา อธิบายข้อมูลเพิ่มเติม เน้นย้ำส่วนสำคัญ จนทำให้นักศึกษาเกิดความรู้และความเข้าใจมากขึ้น จนสามารถเขียนแผนได้สำเร็จ

วันศุกร์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 8


บันทึกอนุทินครั้งที่ 8

วันอังคาร ที่ 8 เดือน เมษายน พ.ศ.2558


เนื้อหา / กิจกรรม


การส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางการเรียนของเด็กพิเศษ

เป้าหมาย
  • การช่วยเหลือให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้
  • ช่วยให้เด็กมีความรู้สึกดีต่อตนเอง "ฉันทำได้"
  • พัฒนาธรรมชาติของเด็ก คือ ความอยากรู้อยากเห็น
ช่วงความสนใจ
  • ต้องมีต่อการเรียนรู้
  • จดจ่อต่อกิจกรรมในช่วงเวลาหนึ่งได้นานพอสมควร
การเลียนแบบ
  • เพื่อน
  • พี่
  • คุณครู
การทำตามคำสั่ง คำแนะนำ
  • เด็กได้ยินสิ่งที่ครูพูดหรือไม่
  • เด็กเข้าใจคำศัพท์ที่ครูพูดหรือไม่
  • คำสั่งยุ่งยากซับซ้อนเกินไปไหม
การรับรู้ การเคลื่อนไหว
  • ได้ยิน เห็น สัมผัส ได้กลิ่น 
  • ตอบสนองอย่างเหมาะสม
การควบคุมกล้ามเนื้อเล็ก
  • การกรอกน้ำ ตวงน้ำ
  • ต่อบล็อก
  • ร้อยลูกปัด
  • ศิลปะ
  • การช่วยเหลือตนเอง
ตัวอย่างอุปกรณ์สำหรับเด็กพิเศษ


ลูกปัดไม้ขนาดใหญ่


รูปต่อที่มีจำนวนชิ้นน้อย


อนุกรมเรขาคณิต
วิธีการเล่น
  • จับคู่บัดดี้เด็กปกติกับเด็กพิเศษทำกิจกรรมร่วมกัน
  • จับกลุ่มเด็ก 4 คน วางเรียงกันคนละชิ้น
ความจำ
  • จากการสนทนา "เมื่อเช้าหนูทานอะไร , แกงจืดที่เรากินใส่อะไรบ้าง , ตัวละครในนิทาน "
  • จำชื่อครู เพื่อน
  • เล่นเกมทายของที่หายไป
ทักษะทางคณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์

กิจกรรมตัวอย่าง


หน้าที่คุณครูสอนทักษะทางคณิตศาสตร์
  • การใช้คำถาม / การชี้นำ / พูดทบทวน
  • ปีนขึ้นไปสูงไหม หนูอยู่ข้างบนหรือเปล่า
  • พูดตามครู "ข้างบน"  "ข้างล่าง"
การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ
  • จัดกลุ่มเด็ก
  • เริ่มต้นเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้นๆ
  • ให้เด็กแต่ละคนอย่างชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน
  • ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง
  • ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
  • บันทึกว่าเด็กชอบอะไรมากที่สุด
  • รู้ว่าเมื่อไหร่จะเปลี่ยนงาน
  • มีอุปกรณ์ไว้สับเปลี่ยนใกล้มือ
  • เตรียมทุกอย่างฝห้พร้อมก่อนเด็กมาถึง
  • พูดในทางที่ดี
  • จัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลื่อนไหว


การนำความรู้ไปใช้
  • การจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับเด็กพิเศษ เช่นการจัดสื่อ ลูกปัด บล็อก ที่มีขนาดพอใหญ่
  • การส่งเสริมให้เด็กพิเศษมีความสนุกกับการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมที่เด็กชอบและสนใจ
  • การเป็นคุณครูที่เตรียมพร้อมทั้งสื่อ และกิจกรรม
  • การเป็นครูที่ดี พูดในทางที่ดี มีไหวพริบ สังเกต และบันทึกพฤติกรรมเด็กอย่างเป็นระบบ
  • การใช้คำถาม การพูดชี้นำ และสอนทบทวนเด็ก
  • การให้ความรู้กับผู้ปกครองเพื่อร่วมมือกันพัฒนาและส่งเสริมเด็ก

การประเมิน

ประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียนและบันทึกเนื้อหาเพิ่มเติม สนุกกับการสนทนากับอาจารย์ในเรื่องต่างๆ และร่วมร้องเพลงสำหรับเด็กเพื่อนำไปใช้ในอนาคต

ประเมินเพื่อน : ทุกคนให้ความร่วมมือกับการเรียนการสอน การมีส่วนร่วมกับเนื้อหา ถามคำถาม ตอบคำถาม สนทนา เพื่อให้การเรียนมีความรู้ที่หลากหลาย และทำให้ทุกคนสนุกกับการเรียน

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เป็นตัวอย่างที่ดี เช่น การใช้คำพูด การตรงต่อเวลา และการเรียนก็สนุกได้ความรู้ที่หลากหลาย อาจารย์อธิบาย ยกตัวอย่าง เพื่อให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมกับเนื้อหา ทำให้บรรกาศสนุกสนานและเห็นภาพชัดเจนมากขึ้น





วันอังคารที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 7


บันทึกอนุทินครั้งที่ 7

วันอังคาร ที่ 17 เดือน มีนาคม พ.ศ.2558


เนื้อหา / กิจกรรม

การส่งเสริมทักษะการช่วยเหลือตนเองของเด็กพิเศษ

"เรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระ"
  • การกินอยู่
  • การเข้าห้องน้ำ
  • การแต่งตัว
  • กิจวัตรต่างๆในการดำรงชีวิตประจำวัน

การสร้างความอิสระ

  • เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง
  • อยากทำตามความสามารคของตนเอง
  • การเลียนแบบจากคนรอบข้าง เพื่อน พี่ ผู้ใหญ่

ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ

  • ทำได้ด้วยตนเอง
  • เชื่อนมั่นในตนเอง
  • ภูมิใจในตนเอง
  • เรียนรู้ความรู้สึกที่ดี

หัดให้ทำเอง

  • ผู้ใหญ่ไม่ช่วยเหลือจนเกินความจำเป็น (ใจแข็ง)
  • ช่วยเหลือในสิ่งที่เด็กขอให้ช่วย
  • คำต้องห้าม "หนูทำช้า"  "หนูยังทำไม่ได้"

ช่วยเหลือเมื่อไหร่?

  • บางวันเด็กไม่อยากทำอะไร หงุดหงิด เบื่อ ไม่สบาย
  • หลายครั้งเด็กจะขอความช่วยเหลือในสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว
  • เด็กรู้สึกว่ายังมีผู้ใหญ่ที่พึ่งได้ แต่จะต้องได้รับความช่วยเหลือเฉพาะสิ่งที่ด็กต้องการ
  • มักช่วยเด็กในช่วงกิจกรรม

ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง
  • แบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองเป็นขั้นย่อยๆ
  • เรียงลำดับตามขั้นตอน
  • สอนแบบก้าวหน้า หรือ สอนแบบถอยหลัง
การเข้าส้วม
  • เข้าห้องน้ำ
  • ดึงกางเกงลง
  • ก้าวขึ้นไปนั่งโถส้วม
  • ปัสสาวะหรืออุจจาระ
  • ใช้กระดาษชำระเช็ดก้น
  • ทิ้งกระดาษลงในตะกร้า
  • กดชักโรกหรือตักน้ำราด
  • ดึงกางเกงขึ้น
  • ล้างมือ
  • เช็ดมือ
  • เดินออกจากห้องน้ำ
การวางแผนทีละขั้น

  • แยกกิจกรรมป็นขั้นย่อยๆให้มากที่สุด
สรุป
  • พยายามให้เด็กช่วยเหลือตนเอง
  • ย่อยงานเป็นขั้นๆ
  • ความสำเร็จขั้นเล็กๆนำไปสู่ความสำเร็จทั้งมวล
  • ช่วยให้เด็กมีความมั่นใจในตนเอง
  • เด็กพึ่งตนเองได้รู้สึกอิสระ
  • เปิดโอกาสให้เด็กมรอิสระในการช่วยเหลือตนเอง
  • เป็ผูอำนวยความสะดวกให้เด็ก
กิจกรรมวงกลมหัวใจ
วงกลมหัวใจ สื่อความหมายว่า เป็นคนหนักแน่นและเชื่อมั่นในตนเอง เป็นคนคิดเล็กคิดน้อย 

กิจกรรมต้นไม้ชีวิต

ต้นไม้ชีวิต สื่อความหายว่า พลังแห่งความสามัคคี

ประโยชน์ของกิจกรรม
  • พัฒนากล้ามนื่อมัดเล็กในการวาดระบายสี
  • พัฒนาการประสานสัมพันระหว่างมือกับตา
  • ฝึกสมาธิ
  • มีอิสระในการคิดการระบายสี
  • การทำงานร่วมกับผู้อื่น
  • มิติสัมพันธ์
  • คณิตศาสตร์ เรื่องสี รูปทรง
การนำความรู้ไปใช้
  • การเปิดโอกาสให้เด็กได้ช่วยเหลือตนเองไม่ว่าจะเด็กปกติหรือเด็กพิเศษ
  • การมอบอิสระให้กับด็กเพื่อให้เด็กได้ลงมืออย่างเต็มที่
  • การสร้างหรือสนับสนุนให้เด็กเชื่อมั่นในตนเอง
  • การย่อยงานเป็นลำดับขั้นตอน
  • การสอนเด็กอย่างก้าวหน้าหรือถอยหลังเพื่อให้เด็กรู้กระบวนการ
  • การช่วยเหลือเด็กเฉพาะสิ่งที่เด็กขอ
  • การมีเทคนิคการพูดที่ดีกับเด็ก
การประเมิน

ประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา ร่วมทำกิจกรรมก่อนเรียนได้อย่างสนุกสนาน ตั้งใจเรียนเนื้อหาการส่งเสริมเด็กพิเศษ ร่วมแสดงความคิดเห็น ซักถามกับสิ่งที่สงสัย ทำให้การเรียนวันนี้สนุกและราบรื่น ได้ความรู้ความเข้าใจ 100 % และสุดท้ายกิจกรรมวาดวงกลม ทำให้ได้ถ่ายทอดความคิด ความรู้สึกของตนเอง กิจกรรมต้นไม้ชีวิต ทำให้เราทราบถึงความสามัคคีของเพื่อนในห้อง และเราจะต้องรักษาสิ่งดีๆแบบนี้ไว้

ประเมินเพื่อน : เพื่อนมีวินัยในชั้นเรียน แต่งตัวเรียบร้อย ตั้งใจเรียนและมีการซักถามข้อที่สงสัย และสิ่งที่ไม่เข้าใจ ทำให้ได้ความรู้เพิ่มเติมมากขึ้น และเพื่อนร่วมทำกิจกรรมอย่างสนุกสนาน และความสามัคคี

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา นำเรื่องราวดีมาเล่าสู่กันฟัง นำกิจกรรมสนุกๆมาเล่นเพื่อให้เกิดความสนุกและตื่นตัว เนื้อหาการเรียนกระชับได้ใจความ อาจารย์อธิบายเนื้อหาเพิ่มเติมทำให้ได้รับความรู้ที่หลากหลาย PPT เตรียมมาดีและสวยน่ารักมาก สุดท้ายกับกิจกรรมวาดวง กิจกรรมต้นไม้ชีวิต ทำให้เห็นตัวตนของนักศึกษา และการทำงานร่วมกันด้วยความสามัคคี



วันพุธที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 6


บันทึกอนุทินครั้งที่ 6

วันอังคาร ที่ 10 เดือน มีนาคม พ.ศ.2558


เนื้อหา / กิจกรรม


การส่งเสริมทักษะทางภาษาของเด็กพิเศษ

การวัดความสามารถทางภาษา
  • เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูด
  • ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วยไหม
  • ถามหาสิ่งต่างๆไหม
  • เล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไหม
  • ใช้คำศัพท์ของตนเองกับผู้อื่น
การออกเสียงผิด / พูดไม่ชัด
  • การพูดตกหล่น
  • การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกเสียงหนึ่ง เช่น ง่วง เป็น น่วง
  • ติดอ่าง
  • พูดแสียงแปล่ง เช่น แล้ว เป็น แล่ว
  • การเพิ่มคำ เช่น ตกใจ เป็น ตกกะใจ
การปฎิบัติของครูและผู้ใหญ่
  • ไม่สนใจการพูดซ้ำหรือการออกเสียงไม่ชัด
  • ห้ามบอกเด็กว่า "พูดช้าๆ" "ตามสบาย" "คิดก่อนพูด"
  • อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูด ควรเป็นผู้ฟังที่ดี
  • อย่าเปลี่ยนมือข้างที่ถนัดของเด็ก
  • ไม่เปรียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น
  • เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยิน
  • การสังเกต บันทึกพฤติกรรมของเด็ก
ทักษะพื้นฐานทางภาษา
  • ทักษะการรับรู้ภาษา
  • การแสดงออกทางภาษา
  • การแสดงออกโดยไม่ใช้คำพูด หรือ อวัจนภาษา คือการแสดงออกทางท่าทาง สีหน้า พยักหน้า ส่ายหน้า เป็นต้น
ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย
  • การรับรู้ภาษามาก่อนการแสดงออกทางภาษา
  • การรู้และเข้าใจพัฒนาการทางภาษาของเด็ก
  • ภาษาท่าทางมาก่อนภาษาพูด
  • ให้เวลาเด็กได้พูด
  • คอยให้เด็กตอบชี้แนะเมื่อจำเป็น
  • เป็นผู้ฟังที่ดีและโต้ตอบอย่างฉับไว
  • เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังเพียงอย่างเดียว
  • ให้เด็กได้ทำกิจกรรมกลุ่ม เด็กพิเศษได้มีแบบอย่างจากเพื่อน
  • กระตุ้นให้เด็กยอกความต้องการของตนเอง
  • เน้นวิธีการสื่อความหมายมากกว่าการพูด
  • การใช้คำถามปลายเปิด
  • เด็กพิเศษรับรู้มากเท่าไหร่ยิ่งพูดได้มากเท่านั้น
  • ร่วมกิจกรรมกับเด็ก
ความรู้เพิ่มเติม การเข้าไปช่วยเหลือเด็กพิเศษการสอนตามเหตุการณ์(Incidental Teaching)
เหตุการณ์เด็กติดกระดุมเองไม่ได้
หน้าที่ครูหรือผู้ใกล้ชิด
1 เดินเข้าไปหาเด็กใช้คำถามหนูทำอะไรอยู่?
2 บอกบทเด็กติดกระดุมใช่ไหม? 
3 ให้ครูช่วยติดกระดุมไหม ไหนพูดตามครูซิติดกระดุม
4 เดี๋ยวครูช่วยหนูติดกระดุม
ข้อปฏิบัติง่ายๆ ย้ำ ซ้ำ ทวน ใจเย็นค่อยเป็นค่อยไป



กิจกรรมดนตรีเพื่อการบำบัดและศิลปะเพื่อการบำบัด




ประโยชน์ที่ได้รับ

1.พัฒนาด้านร่างกาย คือ กล้ามเนื้อมือมัดเล็ก การประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา การสังเกต
2.พัฒนาด้านอารมณ์ คือ การฟังดนตรีเพื่อความผ่อนคลาย การฟังจังหวะเพื่อเป็นพื้นฐานการพูด และสมาธิ
3.พัฒนาด้านสังคม คือ การสื่อสาภาษา การสร้างข้อตกลง การทำงานร่วมกัน
4.พัฒนาด้านสติปัญญา คือ ด้านมิติสัมพันธ์ ความคิดสร้างสรรค์ 

อนุบาลบ้านพลอยภูมิ

ความรู้ที่ได้รับ
1.การจัดกิจกรรมจังหวะกาย จังหวะชีวิต 
2.การจัดกิจกรรม หยิบ ยก ส่ง เพื่อสร้างสมาธิเด็ก และการฟังจังหวะ การทำงานร่วมกัน
3.กิจกรรมเพลงหอยโข่ง หอยโข่ง ตัวมันขดเป็นวงกลม เพลงสั้นๆง่ายๆและให้เด็กได้แสดงท่าทางและจินตนาการ
4.กิจกรรมบำบัดหรือส่งเสริมเด็กในการกระโดด เดิน ซึ่งกิจกรรมทั้งหมดมีการนำจังหวะและดนตรีเข้ามาใช้
5.สังเกตได้ว่าครูทุกคนสามารถเล่นเครื่องดนตรีได้ เป็นเสน่ห์ของการเป็นครู จนทำให้เรามองย้อนมาที่ตัวเราว่าควรมีเครื่องดนตรีสักชิ้นที่เราเล่นได้หรือร้องเพลงได้

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

1. การสังเกตพฤติกรรมของเด็กอย่างเป็นระบบ
2. การนำแบบประเมินการตอบสนองการแสดงออกทางภาษามาวัดใช้กับเด็กเพื่อเป็นแนวทางการแก้ไขและส่งเสริมพัฒนาการเด็ก
3. การเป็นผู้ฟังที่ดีขณะที่เด็กพูด
4. การบอกบทเด็กและการช่วยเหลือเด็ก
5. การรับผิดชอบเด็ก เช่นการชี้แนะ การเข้าใจพัฒนาการทางภาษาของเด็ก
6. การใช้คำถามปลายเปิด


7. การร่วมทำกิจกรรมกับเด็ก

การประเมิน

การประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงต่อเวลา มีความรู้และเข้าใจเนื้อหาการเรียนได้นำความเดิมมาเชื่อมโยงกับความรู้ใหม่ เช่น ครูจะส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาของเด็กพิเศษได้อย่างไร คือ การจัดห้องเรียนที่มีตัวหนังสือกำกับ การเล่านิทาน การพูดคุย การทำกิจกรรมหลักทั้ง6 กิจกรรม และวันนี้มีกิจรรมดนตรีและศิลปะเพื่อการบำบัดทำให้เราได้ลงมือทำและรู้ประโยชน์ของกิจกรรมเพื่อการนำไปประยุกต์ใช้

ประเมินเพื่อน : วันนี้มี 2กลุ่มเรียนรวมกัน ข้อดี คือ เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน การมีส่วนร่วมในการตอบคำถามมากขึ้นทำให้ทราบข้อมูลที่หลากหลาย และการทำกิจกรรมสนุกสนาน ส่วนข้อเสีย คือ การเรียนมีเสียงดัง เมื่อมีคนจำนวนมากทำให้การควบคุมลำบาก

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา การเตรียมเนื้อหาการสอนและวิดีโอประกอบการสอนทำให้เราทราบถึงพัฒนาการของเด็กพิเศษว่าเขาทำอะไรได้มากกว่าที่เราคิด และกิจกรรมก่อนการเรียนก็สร้างความสนุกเฮฮา กิจกรรมหลังเรียนก็สามารถเป็นแนวทางให้นักศึกษานำไปใช้ได้จริงค่ะ


วันศุกร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 5


บันทึกอนุทินครั้งที่ 5

วันอังคาร ที่ 3 เดือน มีนาคม พ.ศ.2558


เนื้อหา / กิจกรรม


การส่งเสริมทักษะทางสังคมของเด็กพิเศษ
  • สภาพแวดล้อมที่ดีไม่ได้เป็นเครื่องการันตีว่าเด็กจะมีพัฒนาการๆอย่างมีความสุข
  • การปรับสภาพสังคมควรปรับที่ตัวของเด็ก
กิจกรรมการเล่น
  • ในช่วงแรกๆเด็กจะไม่มองเด็กอื่นเป็นเพื่อน แต่จะเป็นอะไรสักอย่างที่น่าสำรวจ สัมผัส ผลักดึง
  • การเล่นเป็นสิ่งสำคัญของทักษะทางสังคม
  • การมีสื่อที่ดีจะเป็นสื่อกลางในการเรียนรู้ทักษะด้านต่างๆของเด็ก
ยุทธศาสตร์การสอน
  • ครูเริ่มต้นสังเกตพฤติกรรมเด็กอย่างเป็นระบบ
  • ครูบันทึกพฤติกรรม
  • ทำแผน IEP 
การกระตุ้นการเลียนแบบและการเอาอย่าง
  • วางแผนกิจกรรมการเล่นไว้หลายอย่าง
  • ให้เด็กเล่นเป็นกลุ่มเล็กๆ 2-4 คน
  • จัดให้เด็กปกติกับเด็กพิเศษ 3:1 
ครูควรปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น




  • สังเกตอยู่ใกล้ๆและเฝ้ามองอย่างสนใจ
  • มีปฏิกิริยากับเด็ก เช่น ยิ้ม พยักหน้า
  • ไม่ชมเชยหรือสนใจเด็กมากเกินไป
  • เอาวัสดุหรือสื่อมาเพิ่มที่ละน้อย เพื่อยืดเวลาการเล่น
  • ให้ความคิดเห็นที่เป็นแรงเสริม
เหตุการณ์1 : แบ่งกลุ่มเด็ก 4 คน โดย 3:1 เพื่อการเรียนรู้และการดูแลเพื่อนที่เหมาะสม การให้สื่อควรให้จำนวนครึ่งหนึ่งของจำนวนเด็ก เพื่อให้เด็กได้แลกเปลี่ยนกันเล่น และการเอาสื่อมาเพิ่มให้เด็กเพื่อเป็นการยืดเวลาการเล่น

หากเกิดเหตุการณ์เด็กพิเศษยืนมองเพื่อนเล่น ไม่กล้าเข้าไปในกลุ่มเพื่อนครูควรทำอย่างไร ?

เหตุการณ์2 : เด็กไม่เข้าไปเล่นกับกลุ่มเพื่อน ได้แต่ยืนมองดูเพื่อนเล่น ครูควรสร้างจุดเด่นให้เด็ก จุดเด่นที่ว่านั่นก็คือ ให้เด็กถือของเล่นข้าไปหาเพื่อน แล้วครูพูดกับเด็กว่า "ดูซิคะเพื่อนมีของเล่นมาเล่นด้วย เราให้เพื่อนเล่นด้วยนะคะ" 

การช่วยเด็กทุกคนให้รู้กฏเกณฑ์
  • เรื่องการปฏิบัติตามกฏกติกาไม่ใช่เรื่องงายสำหรับเด็กพิเศษ แต่เราทำได้โดยให้โอกาสเด็กทุกคน
  • จำไว้และปฏิบัติว่าเด็กทุกตนมีสิทธิ์เท่าเทียมกัน ครูไม่ควรเอาความบกพร่องของเด็กเป็นเครื่องต่อรองต่างๆ
กิจกรรม ดนตรีเพื่อการบำบัดและศิลปะเพื่อการบำบัด


การทำกิจกรรม 
  1. ให้เด็กจับคู่กัน 2คน และให้เลือกสีที่ชอบมาคนละ 1 แท่ง
  2. ให้เด็กคนที่ 1 เป็นคนลากเส้นตามจังหวะและเสียงเพลง
  3. ให้เด็กคนที่ 2 เป็นคนวาดจุดตรงที่ว่างของรอยตัดตามเพื่อนที่ลากเส้นตามจังหวะและเสียงเพลง
  4. ให้ระบายสีภาพตรงช่วงรอยต่อที่เด็กมองเห็นและจินตนาการ เช่น ปลา ดอกไม้ ต้นไม้ พญานาค
  5. ให้เด็กนำเสนอผลงาน
ประโยชน์ที่ได้รับ
  1. กิจกรรมนี้ใช้ได้ทั้งเด็กปกติและเด็กพิเศษ
  2. ฝึกสมาธิของเด็ก
  3. ส่งเสริมทักษะการฟังเสียง
  4. ส่งเสริมการทำงานร่วมกับเพื่อน
  5. พัฒนากล้ามเนื้อมือและการประสานสัมพันธ์กันตา
  6. พัฒนาด้านอารมณ์ในการผ่อนคลายและความซาบซึ้งในจังหวะ

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  1. การปรับพฤติกรรมของเด็กเราควรทำที่ตัวเด็กเอง
  2. การแบ่งกลุ่มเด็กปกติและเด็กพิเศษให้เป็น 3:1
  3. การจัดประสบการณ์ให้เด็กทำงานร่วมกัน
  4. การเพิ่มสื่อให้เด็กเพื่อยืดเวลาความสนใจและการเล่นของเด็ก
  5. การพูดนำเด็กให้เป็น และการใช้แรงเสริมโดยการพูด
  6. การสร้างจุดเด่นให้กับเด็กพิเศษเพื่อให้เด็กได้มีโอกาสเล่นกับเพื่อน
  7. การสร้างกฏกติกาการเล่นให้เท่าเทียมกัน
  8. การจัดกิจกรรมเป็นเกมการเล่นเพื่อให้เด็กได้เล่นอุปกรณ์ได้ทั่วถึง

การประเมิน

ประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงต่อเวลา มีวินัยในห้องเรียน ร่วมแสดงความคิดเห็นกับกิจกรรมในชั้นเรียน สนุกสนานกับกิจกรรมที่อาจารย์นำมาสอน

ประเมินเพื่อน : เพื่อนมีวินัยในชั้นเรียน ทุกคนตั้งใจเรียนและทำงานของตนเอง ร่วมกันตอบคำถามและแสดงความคิดเห็นกับอาจารย์ ทำให้บรรยากาศสนุกสนานและมีความสุข

ปนะเมินอาจารย์ : อาจารย์เป็นตัวอย่างที่ดี คือ เข้าสอนตรงเวลา พูดฉะฉาน เป็นกันเอง ดูแลนักศึกษาอย่างทั่วถึง นำกิจกรรมสนุกๆมาสร้างความสนุก ทำหใ้มีเสียงหัวเราะ และได้นำรูปแบบการจัดกิจกรรมาให้เพื่อเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมให้เด็กต่อไป





วันอังคารที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 4


บันทึกอนุทินครั้งที่ 4

วันอังคาร ที่ 10 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2558


เนื้อหา / กิจกรรม

การสอนเด็กพิเศษและเด็กปกติ

ทักษะของครูและทัศนคติ
การฝึกพิ่มเติม 
  • การอบรม , สัมนา
  • สื่อข้อมูลต่างๆ เช่น หนังสือ เอกสาร โทรทัศน์ครู หรือข้อมูลตามเว็ปต่างๆ
"การศึกษาข้อมูลครูควรศึกษาจากหลายๆแหล่งความรู้เพื่อนำมาปรับประยุกต์ใช้กับเด็ก และเพื่อพิ่มประสิทธิภาพในการส่งเสริมเด็กให้เต็มตามศักยภาพของเด็ก"

การเข้าใจภาวะปกติ
  • มองเด็กให้เป็น "เด็ก"
  • รู้จักเด็กแต่ละคน
  • เรียนรู้และมีปฏิสัมพันธ์กับเด็ก
  • จำชื่อจริงและชื่อเล่นเด็กให้ได้ทุกคน
การคัดแยกเด็กที่มีพัฒนาการช้า
"การเข้าใจพัฒนาการของเด็ก" จะช่วยให้สามารถมองเห็นความแตกต่างของเด็กแต่ละคนได้ง่าย

ความพร้อมของเด็ก
  • วุฒิภาวะ
  • แรงจูงใจ
  • โอกาส
การสอนโดนบังเอิญ
  • เด็กเป็นฝ่ายเริ่ม เช่น เด็กเดินเข้ามาถาม , เด็กขอความช่วยเหลือ
บทบาทครูการสอนโดยบังเอิญ
  • พร้อมที่พบเด็ก
  • มีความสนใจเด็ก
  • มีความรู้สึกที่ดีต่อเด็ก
  • มีอุปกรณ์และกิจกรรมล่อใจเด็ก
  • มีความตั้งใจจริงในการช่วยเหลือเด็ก
  • ใช้เวลาติดต่อไม่นาน 
  • ทำให้เป็นเรื่องสนุกสนาน 
อุปกรณ์
  • สื่อไม่แบ่งแยกเพศ เช่น บล็อก เลโก้ เป็นต้น
  • สื่อที่ไม่มีวิธีการเล่นที่ตายตัว
ตารางประจำวัน
  • กิจกรรมต้องเรียงลำดับเป็นขั้นตอนและทำนายได้
  • การสลับกิจกรรมเงียบๆกับกิจกรรมเคลื่อนไหวมากๆ
  • คำนึงถึงความเหมาะของเวลา
ตัวอย่าง
กิจกรรมหน้าเสาธง>กายบริหาร>เล่นตามมุม>เคลื่อนไหวและจังหวะ>กิจกรรมเสรี>กิจกรรมเสริมประสบการณ์>ศิลปสร้างสรรค์>พักกลางวัน

ทัศนคติของครู
ความยืดหยุ่น
  • แก้แผนการสอนให้เหมาะสมกับสถานการณ์
  • ยอมรับความสามารถและความแตกต่างของเด็กแต่ละคน
  • ตอบสนองต่อเป้าหมายที่สำคัญที่สุดสำหรับเด็กแต่ละคน
การใช้สหวิทยาการ
  • ใจกว้างต่อคำแนะนำ
  • สร้างความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมกับบำบัดในห้องเรียน

การเปลี่ยนพฤติกรรมและการเรียนรู้
แรงเสริมทางสังคมจากผู้ใหญ่
  • การตอบสนองด้วยวาจา
  • การยืนหรือนั่งใกล้เด็ก
  • การพยักหย้า ยิ้ม รับฟัง
  • สัมผัสเด็ก
  • ให้ความร่วมมือ และให้ความช่วยเหลือเด็ก
หลักการให้แรงเสริมในเด็กปฐมวัย
  • ให้แรงเสริมเด็กทันทีที่เด็กมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์
  • ให้ความสนใจเด็กนานเท่าที่เด็กมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์
การแนะนำหรือบอกบท (Prompting)
  • ย่อยงาน , ลำดับความยากง่าย ,บอกบทค่อยๆลดน้อยลงตามลำดับ
ขั้นตอนการให้แรงเสริม
  • สังเกตและกำหนดจุดหมาย
  • วิเคราะห์งาน กำหนดจุดประสงค์ในงานแต่ละชิ้น
  • สอนจากง่ายไปยาก
  • ให้แรงเสริมเด็กทันทีเมื่อเด็กทำได้
  • ลดการบอกบท
  • ทีละขั้น ไม่เร่งรัด "ยิ่งขั้นเล็กเท่าไหร่ ยิ่งดีเท่านั้น"
  • ใจเย็น ไม่ดุไม่ตี
การกำหนดเวลา
จำนวนและความถี่ของแรงเสริมที่ให้กับพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กต้องมีความเหมาะสม
ความต่อเนื่อง
  • กิจกรรมทุกๆอย่างในชีวิตประจำวันต่อเนื่องกันระหว่างพฤติกรรมย่อยๆหลายๆอย่างรวมกัน
  • สอนแบบก้าวไปข้างหน้า หรือย้อนมาจากข้างหลัง
การตักซุป
  1. การจับช้อน
  2. การตัก
  3. การระวังไม่ให้น้ำในช้อนหกก่อนจะเข้าปาก
  4. เอาช้อนและซุปเข้าปากแทนที่จะทำให้หกรดคาง
  5. การเอาซุปออกจากช้อนเข้าปาก
  • การสอนแบบก้าวไปข้างหน้า คือการสอนให้เด็กปฏิบัติจากขั้นตอนที่ 1-5 ตามลำดับ
  • การสอนแบบย้อนมาจากข้างหลัง คือ ขั้นตอนที่ 1-4 ครูทำ ส่วนขั้นตอนสุดท้ายให้เด็กลงมือปฎิบัติเอง
การลดหรือหยุดแรงเสริม
  • งดแรงเสริมกับเด็กที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม
  • เอาอุปกรณ์หรือของเล่นออกจากเด็ก
  • เอาเด็กออกจากการเล่น
"คงเส้นคงวา"
กิจกรรม
จากกิจกรรมนี้ สอนให้เรารู้ว่า ส่วนต่างๆของร่างกายเราควรสังเกตและเรียนรู้ให้รอบคอบ หากวันใดมันหายไปหรือมีความบกพร่องเราจะได้รู้และหาวิธีแก้ไขได้ถูกต้อง เช่นเดียวกับการเป็นครูเราควรสังเกตพฤติกรรมเด็กให้ดีและบันทึกพฤติกรรมของเด็กในขณะที่เด็กแสดงพฤติกรรม เพื่อเก็บรายละเอียดและหาวิธีแก้ไขและส่งเสริมให้ถูกต้อง

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  1. การปรับทัศนคติการมองเด็กให้เป็นเด็ก
  2. การจำชื่อเด็กให้ได้ทุกคน เพื่อให้เด็กอบอุ่นและรู้สึกดี
  3. การพูดในเชิงบวก ลูบหัว ค่อยตบหลัง
  4. การมอบโอกาสให้เด็กทุกคนได้เรียนรู้เท่าๆกัน
  5. การเตรียมความพร้อมเพื่อให้เด็กเกิดการเรียนทุกเมื่อที่เข้ามาหา
  6. การจัดการเรียนให้เป็นเรื่องสนุกสนาน
การประเมิน

ประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา มีวินัยในชั้นเรียน ตั้งใจทำกิจกรรมในชั้นเรียนได้สำเร็จและได้ข้อคิดที่หลากหลายจากกิจกรรม มีส่วนร่วมในการตอบคำถามเกี่ยวกับเนื้อหาการเรียน

ประเมินเพื่อน : เพื่อนทุกคนตั้งใจเรียนรู้กับกิจกรรมและเนื้อหาการเรียน แต่อาจมีติดขัดเล็กน้อย เช่น การคุยกัน แต่ ทุกอย่างก็ผ่านไปด้วยดี และบรรกาศก็สนุก และอบอุ่น

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์นำเรื่องดีๆมาเล่าให้นักศึกษาฟัง และสอนการปฏิบัติในการเรียนที่ดี เนื้อหาวันนี้อาจจะเยอะแต่ก็อธิบายเพิ่มเติมให้เข้าใจมากขึ้น บรรยากาศสนุกเป็นกันเอง และมีกิจกรรมร้องเพลงเพื่อนำไปใช้งานได้จริง